วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กินยาเยอะ แล้วไตวาย ตับพัง จริงอ่ะ




สำหรับ เภสัชกรอ้วนๆ อย่างผม

ความเชื่อว่า กินยาเยอะๆ แล้ว
เป็นไตวาย ตับจะพัง

ทำเอาผมปวดร้าวใจมาก

ทำไม เหรอครับ ท่านผู้อ่าน

เพราะ แต่ละปี จะมีคนไข้
ไม่ยอมกินยา ตามความเชื่อนี้
คนไข้ ต้องตาย หรือ พิการ
เพราะไม่ยอมกินยา ปีละ 2-3 คน

น่าเศร้ามาก เพราะ ความเชื่อผิดๆ นี้
ทำให้คนไข้กลัวไตพัง ตับเสีย

เลยไม่ยอมกินยา จนตัวตาย อนาถมากครับ

เรื่องเศร้าที่ 1 เป็นเบาหวานกินยาเยอะ

มีลุงคนหนึ่งเป็นเบาหวานมาหลายปี
ได้ฟังโฆษณา จากวิทยุชุมชน
ว่ากินยาเยอะๆ แล้วไม่ดี ไตจะวาย
สู้กิน น้ำผลไม้วิเศษไม่ได้

น้ำผลไม้วิเศษ มีดี สกัดจากธรรมชาติ
ทำจากสมุนไพร และผลไม้ดีๆ
รักษาโรคเบาหวาน ความดันสูง
แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย
ปลุกนกเขาให้ขัน ไม่มีสารเคมีเจือปน
ไม่ทำลายตับ หรือ ไตเหมือนยาแผนปัจจุบัน

คนไข้เลยหยุดยาเอง ไม่ยอมมารับยาจากโรงพยาบาล
หยุดยาหนี หน้าไปเลย 1 ปีเต็ม
ผมเองได้มีโอกาส เจอคนไข้ที่บ้าน

พบว่าคนไข้ตัวดำ ผิดปกติ
มีขาบวมเล็กน้อย

สอบถามดูจึงรู้ว่า คนไข้
ไม่กินยาโรงพยาบาล มา1 ปีแล้ว
ผมจึงขอวัดความดันโลหิตคนไข้ดู 

ความดันบน 220 มม.ปรอท 
ความดันล่าง 120 มม. ปรอท

โอ้พระเจ้า เรียกรถพยาบาลทันที
ไปตรวจดูพบกว่าคนไข้ไตวายเพราะขาดยา
ต้องฟอกไต ถึงจะรอด 

ความซวยของคนไข้  ต่อมาไม่นาน อีก 10 วัน
คนไข้ติดเชื้อจากน้ำตาลในเลือดสูง
และตายในเวลาต่อมา

ปิดตำนาน น้ำผลไม้วิเศษ
นี่คือตัวอย่าง โทษของความกลัว

กลัวกินยาเยอะๆ แล้วไตวาย
คนไข้เลยหยุดยาเอง 1 ปีเต็ม สุดท้าย
ต้องตายเพราะติดเชื้อ-และไตวาย

น่าเศร้ามากๆ ครับ

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรอย่างผม จะ บังอาจ ไป หรือไม่

                        เภสัชกร บังอาจ ไปไหม????



                            ในโรงพยาบาลที่ผมทำงานอยู่ เป็นโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ขนาด 30 เตียง
  ประชากรในอำเภอ มี 44000 คน มีเภสัชกร 3 คน แพทย์ 5 คน ทันตแพทย์ 2 คน

 ในแต่ละวัน ผมได้เจอคนไข้มากมาย ผมเอง เป็นเภสัชกรมีหน้าที่จ่ายยา ทุกวัน

ในแต่ละ วันช่วงเช้าผมคนเดียวจะจ่ายยาประมาณ 100-180 เคส

  ผมเองได้เจอคนไข้โรคหนึ่งที่น่าสงสารมากคือ คนไข้ไขข้ออักเสบรูมาตรอยด์
ภาษาอังกฤษว่า  rheumatoid arthritis ผมขอเรียกย่อๆ ว่า RA ก็แล้วกัน

จากการสำรวจคนไข้ RA ที่มารักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 55 คน
 พบว่า พิการไปแล้ว 27 คน คนไข้ที่ได้ยา Chloroquine มี 14 คน ส่วนคนไข้ที่ได้ prednisolone มี 48 คน        ไม่มีใครเลยที่ได้ยา methotrexate หรือ sulfadiazine       เลยแม้แต่รายเดียว 


สรุป คนไข้ 41 จาก 55 คน ไม่ได้ยากลุ่้ม DMARDs รักษา rheumatoid arthritis เลย(ปวดใจครับ)

       ส่วนคนไข้ที่ไปรักษาขอนแก่น มี 15 คน ไม่อยู่ใน 55 คนที่ว่านี้
 โดยทุกรายได้ยา methotrexate นานอย่างน้อย 1 ปี
 เกิดอะไรขึ้นกับคนไข้ RA ที่อุบลรัตน์ที่พิการเหล่านั้น
เพราะ ไม่ได้การรักษา RA อย่างถูกต้องเหมาะสม
 คนไข้เลยต้องพิการ


ผมจำเป็นต้อง เสนอยา methotrexate เำพื่อใช้ในการรักษา เสียแล้ว 
บังอาจมาก เภสัชกร คนนี้  2 ปีที่แล้ว  เคยเสนอแพทย์ไปแล้ว


  แพทย์บอกว่า ถึงยังไงคนไข้ rheumatoid arthritis ก็ต้องพิการอยู่แล้ว ผมรับไม่ได้อ่ะ

ภาพคนไข้ rheumatoid arthritis ที่พิการเดินไมท่ได้ จากการใช้ยารักษา RA อย่างไม่เหมาะสม


สรุป คำถาม

1 เภสัชกรบังอาจ ไปไหมที่จะต้อง จัดการให้มีมีการสั่งยาในการรักษา RA อย่างเหมาะสม ?

2 ผมเองจะทำเช่นไร จึงจะสามารถช่วยคนไข้รูมาตรอยด์ที่น่าสงสารได้ ?

3 บทบาทและทิศทางของเภสัชกรเป็นอย่างไร เพราะปัญหาเรื่องนี้ 
ผมเชื่อว่าเกิด ในโรงพยาบาลชุมชนมากกว่าครึ่งประเทศที่ ผู้ป่วย รูมาตรอยด์ 
ไม่ได้ยารักษาโรคอย่างเหมาะสม หรือ เราจะหลับตาแล้วท่องว่า ไม่รู้ ไม่เห็นดี ?

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คนไข้เยอะ งานหนัก ไม่เหนื่อย แต่เสียว

             ขอสามคำ:  มัน เสียว มาก

      บ่อยครั้ง มีบ้างบางวันที่เภสัชกรอย่างพวกผม    ทำไมผมต้องกังวลเสมอ เวลาที่มีคนไข้มากๆ กว่าปกติ ครับ จริงๆ แล้ว เวลาคนไข้มาก  การทำงานก็เหนื่อยมากครับ แต่ผมไม่กลัวเหนื่อย แต่ผม เสียวไส้มากกว่าครับ  เพราะเมื่องานหนักมากเกินไป มันเสียวจะจ่ายยาผิดครับ



  
          ปกติในแต่ละวัน ช่วงเช้าผมคนเดียว จะจ่ายยาถึง 100 เคส เป็นอย่างน้อย บางครั้งก็มากกว่านี้   การที่ต้องจ่ายยามากๆ ในเวลาที่จำกัด ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ บางครั้ง OPD ไม่ตัดคนไข้ หลายครั้งที่ต้องจ่ายยา ไป ถึง 13.00 น.โดยไม่ได้พัก ทำให้การตรวจสอบยาผิดพลาดได้   และที่สำคัญแพทย์เองก็จะเหนื่อย เช่นกัน ทำให้เกิดความผิดพลาด เพิ่มมาอีก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่คนไข้นอกมากมาย ทะลุ 200 คนในช่วงเช้าทำให้วันนั้น มีการสั่งยาที่คนไข้แพ้   และ ห้องยาก็จ่ายยาออกไปด้วย เดชะบุญที่คนไข้ไม่เป็นอะไรมาก  และนี่คือบทเรียนที่เราต้องจดจำ  ว่าถ้าหากมีคนไข้มากเกินกำลังแล้ว  เภสัชกร อย่าฝืน ต้องกล้าหยุดพัก  อย่ารีบเร่งจ่ายยาไปโดยไม่รอบคอบ อาจโดยดีได้่ ให้ระวังก็แล้วกันครับ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกร จ่ายยาตามแพทย์สั่ง ง่ายจะตาย

                  มายาคติคนไทย  ความคิดที่ว่าการจ่ายยานั้นแสนง่าย

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม


        ผมเชื่อว่า ประชาชน หลายคน จะเข้าใจ ว่า เภสัชกร นี้ทำงาน ง่าย แค่จัดยาตามแพทย์สั่ง ก็เสร็จแล้ว งานหมูๆ ชัด หลายคนเชื่อ ว่า ชีวิตเภสัชกร ช่างง่า่ยดาย และสุขสบาย อะไรขนาดนั้น เมื่อ ก่อนสมัยผมอายุ 11 ขวบ ผมก็เข้าใจ แบบนั้นเหมือนกัน ดังนั้น ตอนผมอยู่ชั้น ป.5 ผมได้ตัดสินใจ ว่า โตขึ้นผมจะทำงานอยู่ห้องยา น่าจะสบายได้นั่งจ่ายยาในห้องแอร์เย็นๆ ไม่ต้องออกไปเจอเลือด เจอผู้ป่วย สบายๆ แน่ๆในตอนที่ผม เด็กๆ ผมก็คิดแบบนั้นครับ จึงได้ตัดสินใจมาเรียนเภสัชเมื่อโตขึ้นไงครับ ผม ขอยกตัวอย่าง เรื่องเล่า สัก 2 เรื่องให้ฟัง ว่างานเภสัชกร นั้นยากกว่า แค่สักแต่ว่าจ่ายยา ตรงไหน



            เรื่องแรกเกิดเมื่อ 14 ปีที่แล้ว  ผมพบว่าโรงพยาบาลมีคนไข้โรคหืดต้องมานอน admit ที่โรงพยาบาลเยอะมาก  จากการ ทบทวนใบสั่งยาดู ผมพบว่าคนไข้ได้แค่ยาพ่นขยายหลอดลม เท่านั้น  ยังไม่มีการใช้ ยาพ่นสเตียรอยด์ ที่ทำหน้าที่ลดการอักเสบในหลอดลมแม้แต่รายเดียว    ผมจึงได้ทำสิ่งที่แตกต่างออกไป คือ แทนที่จะแค่จ่ายยาไปตามแพทย์สั่ง  ผมก็เริ่มเชิงรุก วางระบบการสั่งยาที่เหมาะสมให้แพทย์ เพราะสมัยนั้น แพทย์หลายคนยังไม่เข้าใจว่าโรคหืดเกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง  กว่าแพทย์จะยอม ทำตามผม ก็ต้องนำเสนอ ข้อมูลงานวิจัยยานี้ ในประเทศไทย  ทาง internet มานำเสนอ ในกรรมการดูแลผู้ป่วย  ซึ่งสมัยนั้น ต้องเสียเงิน ค้นหาข้อมูลจาก medline และยังต้องไปชวน แพทย์ ที่ไฟแรงมารับผิดชอบ การจัดตั้งคลินิกโรคหืดด้วยการ มีการทำเกณฑ์วินิจฉัยโรค มีการประชุมผู้ป่วย และ จัดทำคลินิกพิเศษขึ้นมา  มันได้ผล คนไข้โรคหืด ที่ต้องนอนโรงพยาบาล จาก ปีละ 148 คน ลดลงเหลือ 32 คนต่อปี โดยมีจำนวนวันนอนรวมจากปีละ 407 วันนอน เหลือ เพียง 111 วันนอนเท่านั้น นีคือผลงานเภสัชกรรมคลินิก ที่ผมแสนจะภูมิใจ แม้จะไม่ได้ 2 ขั้นก็ตาม 555



      เรื่องที่สอง เกิดเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ เภสัชกร จะได้เวชระเบียนคนไข้แบบเต็มๆ  ไม่ใช่ได้แค่ใบสั่งยาเท่านั้น ทำให้เราได้ข้อมูล ที่มากมาย ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น เภสัชกรที่อุบลรัตน์ จะไม่ดูแค่ใบสั่งยาในวันนี้เท่านั้น  พวกเราจะย้อนกลับไปดูประวัติการรักษา และค่า Lab ต่างๆ ของผู้ป่วยในเกือบทุกครั้ง ผมจึงพบปัญหาบ่อยๆ ว่ามีคนไข้โลหิตจางมากมาย หลายคนที่ไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี ฮีโมลโกลบิน ระดับ 5-9% ซึ่งต่ำจนอันตราย คนไข้หลายคน มีอาการทรุดลงจนเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา ถึง 3 คน โดยคนไข้เหล่านี้ แพทย์ อาจจะลืมสั่งยา หรือ ลืมว่าต้องรักษาพวกเขาก็มีมาให้พบบ่อยๆ ทุก อาทิตย์ครับ ทำให้เกิด ข้อตกลงว่า เภสัชกรที่นี่ นอกจากจะดู BUN/Cr หรือการทำงานของไตแล้ว จะดูความเข้มขั้นของเลือด หรือ ฮีโมลโกลบินด้วย 




         ถึงตอนนี้ เราช่วยคัดกรอง คนไข้แบบนี้ให้แพทย์ได้ 52 คนแล้ว คนไข้พวกนี้ ก็ จะได้ยาเพื่อรักษาโลหิตจาง ตามที่ควรจะเป็น และคนไข้ ที่มี ภาวะหัวใจล้มเหลวจากโลหิตจางทั้ง 3 คนก็ดีขึ้น แล้ว  คนไข้อีก 14 คน โลหิตจางรุนแรงจากธาลัสซีเมีย 14 คนก็ถูกส่งต่อเพื่อรับการรักษา  มีคนไข้หลายคนมาแสดงความขอบคุณ และมอบของฝากให้เภสัชกร ในห้องยา พวกเราแสนจะภูมิใจมาก เพราะเภสัชกรที่นี่ ไม่ใช่แค่จ่ายยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น สวัสดีครับ ผมเภสัชเอกครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกร ออกตรวจโรงงานน้ำ ที่ ศรีสุขสำราญ

                      

           วันนี้ ช่วงบ่าย ต้องออกไปไกล ถึงศรีสุขสำราญ เพื่อ ตรวจรับรองโรงงานผลิตน้ำดื่ม ของครูแมว หมู่บ้านนี้ไกลจาก โรงพยาบาลถึง 30 กิโลเมตร ผมกับน้องนิกกี้เภสัชกร จบใหม่คนหนึ่งได้เดินทางเพื่อตรวจรับรองคึุณภาพ โรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งนี้ ซึ่งทำในบ้านเรือนไทยทรงสูงทำจากไม้ แลดูงดงาม ที่อยู่ติดโรงเรียนศรีสุขสำราญ  อาคารผลิตถูกสร้างขึ้นมาใหม่แยกจากตัวบ้าน เป็นอาคารขั้นเดียว ที่ดูสะอาดสะอ้านดี มีระบบกรองน้ำบาดาล และ ระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV  และ RO ซึ่งถือว่ามีมาตราฐานสูงมาก โรงงานก็มีระบบ flow ของงานที่ดีมาก ตึกใหม่สะอาด ดูดีมากเลยทีเดียว

          น้องนิกกี้ นั้นให้คะแนน โรงงานถึง 95/100 คะแนน เลยทีเดียว เพราะระบบงานพร้อมมาก  ขาดก็เพียงแต่น้ำยาฆ่าเชื้อไว้ล้างมือ ด้วย ครูแมวนั้นเป็นชายร่างเล็กผิวคล้ำ ที่อารมณ์ดี และเป็นคนพูดตรงเปิดเผย ผมให้คำแนะนำข้อแก้ไข ต่างๆ ให้ครูแมว และก่อนกลับโรงพยาบาลได้แวะเยี่ยมบ้านคนไข้ คือคุณยายกอง และยายทองด้วย ครับ


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไปจ่ายยา ที่ สถานีอนามัย รพสต.โคกสูง

                     

               วันนี้ ทีมงาน รพ.อุบลรัตน์ ต้องไป จ่ายยาเบาหวาน ที่ รพสต.โคกสูง  ผมเอง ลงจากจ่ายยา ตอน 12.25 น. ก็ต้องรีบ ขึ้นมารอรถ ไป โคกสูง ออกหน่วย โดยไปที่ โคกสูง ผมมาถึง โรงพยาบาลเวลา 13.05 น. รีบมากไม่ได้กินข้าวเที่ยงเลย แต่สุดท้าย รอคนโน้น คนนี้ กว่า รถตู้จะออกได้ก็ 13.30 น.พอดี วันนี้ ตอนเช้าคนไข้ไม่มากเท่าไร  แต่เสียเวลามาก  เพราะยา propanolol 10 mg หมดพอดี เลยวุ่นวายหน่อย วันนี้ ถือเป็น นิมตรหมายที่ดีเพราะมีแพทย์ไปด้วย พยาบาล 3 คน นักกายภาพบำบัด  ทันตาภิบาล ก็มาด้วย เรียกว่าบบจัดเต็มมาก ไปจ่ายยาคนไข้เบาหวาน 6 ราย แล้ว ต่อด้วยเยี่ยมบ้าน 1 ราย คือแผนงานวันนี้ วันนี้ คุณหมอบูคนสวย(พญ.รัดเกล้า) ไปด้วย บรรยากาศเลยชิวๆ




                   พอไปถึง รพสค.โคกสูง ก็วุ่นวายพอดู เพราะอะไร ๆก็ดูไม่เหมือน อยู่โรงพยาบาล ต้องวิ่งหาหูฟัง เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก มากว่าทุกอย่างจะลงตัว คนไข้ บางคน บ่น ว่ารอนานตั้งแต่ 12.00 น.แล้ว คนไข้ มาทำไหมหนอ ตอนเที่ยง 55555  การจ่ายยาแค่ 6 เคส ได้ นั่งใกล้ชิด คนไข้ด้วยบรรยากาศสบายๆ  ก็ดีไม่น้อย เสียดายที่อากาศร้อนไปหน่อย   รพสค.โคกสูง ร้อนมากๆ ประมาณ บ่ายสอง ฝนก็ตกเทลงมา ทำให้รู้สึกสบายขึ้นเยอะมาก   จ่ายยา อธิบายซักถาม อย่างละเอียด 6 เคส จ่ายยาคุณภาพนาน 60 นาที แบบชิวๆ  คนไข้ ได้บอกอะไรเราเยอะแยะมากมาย เช่น ผู้ป่วยปรับขนาดยาเองน่ะ  ผู้ป่วยไปรักษาที่อื่นด้วย  บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่กินยาโดยเฉพาะ metformin เมื่อจ่ายยาเสร็จแล้ว



      ไปเยี่ยมผู้ป่วย อีก 2 เคส ที่นอนติดเตียง เคสแรกน่าจะ CVA หรือ ไม่ก็อัลไซเมอร์ นอนติดเตียง มา 2 ปีแล้ว จะนั่งเองก็ไม่ได้  พูดไม่ได้  นอน ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ด้่วยแพมเพอส มา 2 ปีแล้ว เริ่มมีปัญหาแผลกดทับ คนไข้รายนี้ เป็นเบาหวานมาก่อน บ้านสวยงามมาก ฐานะดีพอสมควร  ข้าวของ เครื่องใช้ในบ้านดูดี หรูหรามาก คนไข้อีกราย เป็น RA ที่พิการ จนเดินไม่ได้ มา 5 ปีแล้ว น่าสงสารมากแต่คนไข้ก็ยิ้มได้  ใจผมเองอดคิดไม่ได้ว่า คนไข้บ้านนอก ยากจน ไม่มีโอกาส เข้าถึงยากลุ่ม DMARD คนไข้ RA จึงต้องพิการแบบนี้ น่าสงสารมาก เภสัชกร อย่างผม น่าจะ ลองพยายามทำอะไรอีกครั้ง ไว้ประชุมกรรมการยา่ ลองอีกครั้ง กับแนวคิด Proactive CPG for RA patient


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผมยกมือไหว้ผู้ป่วย ที่มีอาวุโสกว่าครับ


               ปกติคนไข้ส่วนมาก เมื่อเจอหมอ  เจอเภสัชกร หลายคนจะยกมือไหว้ แพทย์ หรือ เภสัชกร อย่างนอบน้อมผมเอง ก็รู้สึกตะขิดตะวงใจมานาน  เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ผมจึงตัดสินใจ ว่า หาก ตัวเภสัชกร อย่างเราจะดูแลคนไข้ดุจญาติมิตร เราต้องเคารพและให้เกียตริคนไข้ก่อน ผมเองจึงได้เริ่มต้น  สวัสดีผู้ป่วยที่มีอาวุโสสูงกว่าผมด้วย ความจริงใจเสมอๆ  ทุกครั้งที่จ่ายยา ถ้าไม่ลืมน่ะครับ

     การยกมือไหว้คนไข้ แรก ทำไปก็เขินๆ อยู่เหมือน กัน พอ ยกมือไหว้คนไข้บ่อยๆ ก็เริ่มชินและรู้สึกดี เราเองก็ได้ละวางอัตตา ของเรา ว่าเราคือหมอ คนไข้ต้องเคารพ เรา คนไข้ ต้องหงอให้เรา การยกมือไหว้คนไข้ผู้อาวุโสนั้น กลับได้ผลที่ดีบางอย่างก็คือ คนไข้เคารพเรามากขึ้น สุภาพกับเรามากขึ้น  เกรงใจเรามากขึ้น และนี่คือ วัฒนธรรมไทยอันดีงามที่ยกมือไหว้ ผู้อาวุโสกว่า

และ ขอสวัสดี ข้าพเจ้าูศุภรักษ์ เภสัชกรแกะดำ ครับผม

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรโรงพยาบาล จ่ายยาอย่างไร

             ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคน  เข้าใจเพียงว่าเภสัชกร คือ คนที่ทำหน้าที่จ่ายยาให้ผู้ป่วยตามใบสั่งยาของแพทย์ ซึ่ง จริงๆ แล้วงานจ่ายยา ถือเป็นส่วนหนึงของงาน ของเภสัชกรแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของเภสัชกร ผมเองมีหน้าที่ตรวจสอบ  ก่อนจ่ายยามากมาย  โดยเฉพาะการดูความเหมาะสมในการในการสั่งยาของแพทย์ว่ามีจุดไหนบ้างที่รับไม่ได้  นอกจากนั้นก็จะเป็นการตรวจสอบว่า  การจัดยาของห้องยานั้นถูกต้องหรือไม่ก่อนจะจ่ายยาออกไป  ตัวอย่างงานของเภสัชกรได้แก่




1 ตรวจสอบว่าแพทย์สั่งยาที่ข้อห้ามใช้หรือไม่
2 ตรวจสอบว่าผู้ป่วยได้ยาที่จำเป็นเพียงพอในการรักษาโรคหรืออาการหรือไม่
3 ตรวจสอบความเหมาะสมของขนาดยาที่แพทย์สั่งว่ามาก หรือ น้อยเกินไปหรือไม่่
4 ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
5 ประเมินผู้ป่วยว่ามีการใช้ยาอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือหรือไม่


           จะเห็นได้ว่าเภสัชกร ไม่ใช่จ่ายยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น เภสัชกรต้องทักท้วง หรือแก้ไข หากพบข้อผิดพลาดในการสั่งยาของแพทย์ด้วย   และที่สำคัญ หากมีการสั่งยาไม่เหมาะสมของแพทย์แล้วเภสัชกรจ่ายยาออกไปแล้ว    เกิดผลร้ายแก่ผู้ป่วย  เภสัชกร จำเป็นต้อง รับผิดชอบ ความผิดพลาดนี้ด้วย  ดังนั้นเภสัชกร ที่ดี จะต้องทำหน้าที่ของตน ต้องรับผิดชอบ ต่อผู้ป่วยไม่ใช่สักแต่ว่า จ่ายยาไปตามแพทย์สั่งเท่านั้นผมจำได้  ใน ปี 2539 ที่ผมได้เริ่ม  ออกมาบอกแพทย์ว่า คนไข้โรคหืด จำเป็นต้องได้ยาตัวนี้ ด้วย ในตอนแรก เล่นเอาแพทย์โกรธผม จนควันออกหูเลยทีเดียวแต่ด้วย ความดื้อด้าน ของผม คนไข้โรคหืด เลยได้ยาพ่นสเีตียรอยด์กลุ่ม Controller .ซึ่งเป็นอะไร ที่หัวก้าวหน้ามาก คือ ว่า เราจะไม่แค่จ่ายยาไปวันๆ แต่เราจะ ส่งเสริมให้มีการ ใช้ยาที่ถูกต้องตามมาตราฐานวิชาชีพด้วย เรียกว่า เราเปิดเกมส์บุกก็ว่าได้


สวัสดี วันจันทร์ กับงาน ของเภสัชกรโรงพยาบาล

              สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน ผมเภสัชกรเอก เป็น เภสัชกร โรงพยาบาล มาเกือบ ตลอดชีวิตการทำงาน เคยไปทำหน้าที่อื่น ช่วงสั้นๆ ที่ สสจ.อุบลโดยเป็น เจ้าพนักงานออกตรวจโรงงานต่างๆ อยู่เกือบ 1 ปี นอกนั้น ชีวิตการทำงานของผม จะมีหน้าที่เป็นเภสัชกร โรงพยาบาลเล็กๆ ในชนบทเสียเป็นส่วนมาก ตอนเช้า จะต้องจ่ายยา อาจมีงานเอกสารมาบ้างนานๆครั้ง  ตอนบ่อยมักจะมีประชุม หรือ ไม่ก็ต้องจ่ายยา หรือ ต้องทำรายงานต่างๆ บางครั้ง ตอนเย็นว่างๆ อาจจะไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน  และอาจมีงานเอกสาร มาทำต่อที่บ้านบ้าง บางครั้ง ชีวิตของ ข้าราชการในตำแหน่งเภสัชกร ก็วนเวียนอยู่แบบนี้แหละครับ  มีทั้งเรื่องสนุก สุขใจ และเรื่องทุกข์ เรื่องเครียด ผสมปนเปกันไป ครับ




             ผมขอเล่าบรรยากาศทำงาน ในเช้าวันจันทร์ให้ฟังก็แล้วกัน ตอนเช้าที่อุบลรัตน์ แพทย์มาทำงานเร็วมาก 8 โมงกว่าๆ ก็มีใบสั่งยามาถึงห้องยาแล้วครับ ที่ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ มีบัตรคิวด้วยครับ เพราะช่วยป้องกันการจ่ายยาผิดคนได้ดี  และ ช่วยจัดคิวคนไข้ด้วย ไปในตัว ในตอนเช้า หากว่าง จะมีเภสัชกร อีก 1 คนมาตรวจสอบ ยาก่อนจ่ายยาให้คนไข้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดลงได้มากมายครับ แต่บางครั้ง ก็ไม่มีคนช่วยเช็คยา เภสัชกร คนที่จ่ายยา เลยต้อง ตรวจสอบมากหน่อย บางครั้งก็พลาดได้ครับ ปกติใครทำข้อสอบได้ 99% ก็คงสอบได้ที่ 1 ไปแล้ว แต่ชีวิตเภสัชกร บางที จ่ายยาผิด 1 ครั้ง จาก คนไข้ 1000 คนก็อาจโดนดีได้เหมือนกัน  หลายๆคนไม่เข้าใจ ก็มักจะหาว่า พวกเราไม่รอบคอบ ไม่รับผิดชอบ ต้องทำใจครับ เรื่องนี้