วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เภสัชกร กับ งาน FAST TRACK Severe Sepsis

เภสัชกร กับ งาน FAST TRACK Severe Sepsis Shock





      ปกติไม่สนใจ พวกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ  แต่เมื่อได้เข้าประชุม FAST TRACK Severe Sepsis Shock พบว่า แต่ละปี จังหวัดขอนแก่น มีคนตายเพราะเกิด Severe Sepsis Shock ปีละ 3000 คน โอ้พระเจ้า ยอร์ชมันแย่มาก หลักการดูแล Severe Sepsis ก็คือ ต้อง Dx ให้เร็ว ให้การรักษาด้วยยาที่เร็ว มีการเจาะ HaemoCulture และ การส่งต่ออย่างรวดเร็ว ในการ ประเมิน Severe Sepsis Shock นั้น เริ่มจาก

1 ประเมินว่าเข้าข่ายมีการติดเชื้อ เช่นไข้สูง หรือ ผล CBC
2 มีภาวะ shock หรือ hypoperfusion เกิดขึ้น

การรักษาด้วยการให้สารน้ำอย่างมากเพียงพอ ในทันที โดยให้ประมาณ 1500 มล. / 60 นาที
โดนอาจเลือกให้ NSS หรือ Lactate Ringer Solution แต่ถ้าผู้ป่วย HF or CKD
อาจให้สารน้ำเพียงแค่ 750 มล./ 60 นาทีก็พอ ต่อมาให้ antibiotics ตา่มเกณ์ภายใน
60 นาที และมีการเจาะ ไปพร้อมๆ HaemoCulture กัน  พร้อมทั้ง ให้ Dopamine หากความดันโลหิต
ไม่เพิ่มสูงขึ้น ในระยะปลอดภัย และ เตรียมส่งตัวไป รพศ.ขอนแก่น ภายใน 2 ชม.



บทบาทของเภสัชกร คือแนะนำเรื่องการใช้สารน้ำ antibiotics และ การใช้ Dopamine อย่างเหมาะสมและทันเวลาในผู้ป่วย Severe Sepsis Shock ทุกราย

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การตรวจร่างกาย และ การซักประวัติทางเภสัชกรรม

                     บทบาทเดิมๆ ของเภสัชกร จะอยู่ที่การแนะนำการใช้ยา บางครั้ง สำหรับคนไข้หลายคนนั้น มันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมากๆ  ที่ต้องมารอรับยานานๆ  และ ต้องฟังอะไรเดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนกับการแนะนำการใช้ยาแบบทั่วไป ที่คนไข้หลายคนไม่ปลื้มเท่าไร  เพราะ เป็นข้อมูลที่อ่านได้จากฉลากยา   ผมเองทำงานจ่ายยามานานกว่า 19 ปี มีข้อเสนอดีๆ ที่อยากมาขายไอเดียให้พี่น้องเขียวมะกอกของเรา นั่น คือ การตรวจร่างกาย และ การซักประวัติทางเภสัชกรรม สองอย่างนี้อาจเป็นเรื่องใหม่ของเภสัชกรบางคน  แต่ผมเชื่อว่า สองกิจกรรมนี้มันมีข้อดีหลายอย่างในการทำงานของเภสัชกรอย่างพวกเราก็คือ

1 เภสัชกร จะดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นในสายตาของผู้ป่วย เมื่อมีการตรวจร่างกายอย่างเป็นระบบ
2 การซักประวัติผู้ป่วยทำให้ได้ข้อมูลด้านสุขภาพที่จำเป็นมากขึ้น และแสดงถึงความใส่ใจของเภสัชกร
3 การที่เราสัมผัสกายผู้ป่วยอย่างอ่อนโยน  นั้นผู้ป่วยจะรับรู้ได้จากการสัมผัสนั้น


ยกตัวอย่าง เมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมารับยา เภสัชกรสามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยดังนี้

1 ดูผื่นแพ้ยาทางผิวหนัง หรือ ภาวะตับอักเสบจากยา
2 ประเมินภาวะซีด โดยดูที่เล็บมือ และ เปลือกตาของผู้ป่วย
3 ดูการบวมของเท้า  การบวมของขา

นอกจากนี้ อาจมีการซักประวัติเพิ่มเติม เช่น
1 อาการเจ็บแน่นหน้าอก ของผู้ป่วย ความถี่ และช่วงเวลาที่มีอาการ
2 การหอบเหนื่อย ของผู้ป่วย เมื่อต้องมีกิจกรรมต่างๆ
3 สอบถามประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา  และ โรคอื่นๆ

          ซึ่ง การตรวจร่างกาย และ การซักประวัติทางเภสัชกรรม นั้น จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น แต่ก็ได้ประโยชน์คุ้มค่า  ต่อผู้ป่วย และส่งเสริมบทบาทวิชาชีพเภสัชกรรมที่ดีมาก เนื่องจากข้อจำกัดของอัตรากำลังเภสัชกร ดังนั้นเราจำเป็นต้องเลือก ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นใน การตรวจร่างกาย และ การซักประวัติทางเภสัชกรรม