วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

To be a better pharmacist

ผมจะมีเรื่องเล่า ให้ฟัง  2 เรื่อง เกี่ยวกับ การพยายาม สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เภสัชกร



เคสแรกจาก ER หญิงชรา อายุ 82 ปี หอบเหนื่อย แพทย์ตามเภสัชกร มาสอน ใช้ยาพ่น MDI
ผมเองเดินไป ER เห็นผู้ป่วยนอนราบไม่ได้  ขาบวมทั้ง 2 ข้าง ผมซักอาการ หอบ
คนไข้ตอบว่า มีไอบ้าง เหนื่อยมาก หลังกินมะม่วงดอง 4 ผล ผมค้นดูประวัติที่น่าจะ
เข้าได้กับ asthma หรือ COPD แต่ไม่พบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ ลมพิษ หรือ สัมผัส
ควันบุหรี่ ไม่มีเลย ตรวจดู Chest X ray พบหัวใจโต ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง และ
โรค RHD ผมค่อนข้างแน่ใจว่าไม่ใช่ asthma คนไข้น่าจะเป็น CHF มากกว่า ผมคุยกับ
แพทย์เรื่อง add enalapril และ ให้ lasix inj เมื่อคนไข้หายขาบวม วันถัดมาก็กลับบ้านได้

เคสสอง มา admit ที่ห้องยาตอนสายๆ ผู้ป่วยชายสูงอายุ  78 ปี ปัสสาวะแสบขัด ความดันโลหิตต่ำจนน่าเกลียด 90/60 mm Hg(ความดันเดิมๆ วัดได้ PR 113 bpm  อุณหมูมิ 37 องศา ความรู้ที่ได้เข้าอบรมเพิ่มเติมมา อาจเป็น ไปได้ว่า septic shocks  ผม เขียนใน progress note ว่า หากมีไข้ จะเข้าข่าย septic shocks
ต่อมา บ่ายสอง ผมเดินไปเยี่ยมคนไข้ที่ ward พบว่า อุณหมูมิ 38.5 องศา ความดัน 88/55 mm Hg ไม่พบผลตรวจ UA ไปห้อง lab พบ WBC ขึ้นสูง เภสัชกรอย่างผมแจ้งแพทย์ด่วน Red Code แล้ว แพทย์ให้สารน้ำแบบ load ปริมาณมากเปิดสองเส้น พร้อมให้ fortum injection แล้ว Refer คนป่วยรายนี้ รอดตายได้

และนี่คือตัวอย่างความรู้ที่เภสัชกร ต้องมี นั่นก็คือ
1 การประเมินโรค 2 การประเมินภาวะวิกฤตที่พบบ่อย 3 ยาที่ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วย 4 การซักประวัติตรวจร่างกาย
และทำให้ผมต้องไปอบรม กับ COP SOFT เรื่อง การประเมินผู้ป่วยสำหรับเภสัชกรครอบครัว
แล้วเจอกันที่ โรงแรมนารายณ์ สีลม ครับ 8-12 มิถุนายน 2558 เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า เภสัชกรเก่งๆ ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อนาคต เราจะเติบโตได้ด้วยงานปฐมภูมิ

ใช่แล้วครับ หากพวกเราเภสัชกร อยากจะเติบโตขึ้น


มีบทบาทวิชาชีพที่ชัดเจน เภสัชกร ต้องเปลี่ยนครับ


การออกชุมชน ออกไปพบเจอกับผู้ป่วย ประชาชน


คือเวที ที่เปิดโอกาสให้ เภสัชกร ได้แสดง ศักยภาพมากขึ้น


การที่เภสัชกร มัวหลบอยู่ในห้องยา มันไม่ใช่สิ่งที่ดีครับ


ถึงเวลาแล้วที่ เภสัชกร ต้องออกไปถึงชุมชน ไปเยี่ยมบ้าน


ไปสัมผัส ความทุกข์ ความยากของผู้ป่วย และ ประชาชนได้แล้ว


ออกจาก แผ่นกระดาษ และ งานเอกสารวิชาการ ต่างๆ ....


ไป ตามหา ความจริง จากประสบการณ์ การทำงานภาคสนาม


.......งานใหม่นี้ มี ชื่อว่า ....งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ .....


........เป็นงานที่ เริ่ม จาก บุคคล ไป ครอบครัว........


........ *****แล้วต่อจากครอบครัว ไปชุมชน......


**งานพัฒนาระบบยาในสถานีอนามัย หรือ รพสต.**


******โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล****


*****ตอนนี้  พวกเรามี ชมรมแล้ว ครับ ....


*****ชมรมนี้มีชื่อว่า ชมรมเภสัชกรปฐมภูมิ และ




สมัครสมาชิก ชมรม คลิก https://www.facebook.com/groups/1021162341245200/


......สมาชิกรุ่นแรก ผ่านการอบรม FCPL มาแล้ว...


*****ณ บัด now พวกเราเกิดแล้วครับ*****


สวัสดี ชาวโลก กระผมเภสัชกรปฐมภูมิครับ ผม

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

อย่า คิด ว่า เรามีเภสัชกร เพียงพอ

                    

                         

                  .

.

              จริงๆ แล้ว โรงพยาบาลส่วนใหญ่ ขาดแคลน เภสัชกร โดยเฉพาะ เภสัชกรที่ทำหน้าที่บริบาลผู้ป่วย  แบบว่า อัตรากำลังคนที่มีอยู่ แค่ให้งานบริการทั่วไป  + การอบรม ประชุม และ วันลา ก็แบบว่า ยังไม่พอเลย ตอนนี้ ผมเชื่อว่า หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม ทุกที่ คงเข้าใจแล้ว ว่า จำนวนเภสัชกร มีไม่พอจะทำงานดีๆได้ งานที่โดดเด่นได้ ไม่ว่า จะเป็นงานบริบาลทางเภสัชกรรม งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ งานเภสัชสนเทศ งานประกันคุณภาพระบบยา และ อื่นๆ อีกมากมาย เราอยากได้ เภสัชกรเป็น 2 เท่า ของปัจจุบัน เพื่อที่เรา จะทำงานอย่างมีคุณภาพได้ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่คนไข้โรคเรื้อรัง มีปัญหาความร่วมมือในการใช้ยา  แต่เภสัชกร มีเวลาให้ผู้ป่วยแค่ คนละ 1 นาที เท่านั้น ดังนั้น ความขาดแคลน ด้านบุคคลากร จะเป็นตัวฉุดรั้ง ความก้าวหน้าของวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างแน่นอน หรือ คุณว่ายังไง  เพื่อนๆ เขียวมะกอก ลองแสดงความเห็นกันมาน่ะครับ

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนะนำ หลักสูตร น่าเรียน FCPL

แนะนำ หลักสูตร น่าเรียน FCPL
ประชาสัมพันธ์ FCPL รุ่่นที่ 2 เปิดรับคัดเลือกเภสัชกรเข้าอบรม
ภายใน 20 พ.ค.58 ติดต่อตัวแทนเขตคะ

ข้อกำหนด การฝึกอบรมในหลักสูตร 

Family and Community Pharmacist Practice Learning (FCPL)




1. คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย
1) มีประสบการณ์ในการทำงานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ ผ่านหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เช่น นจพบ, นพย, วคบท., เภสัชกรครอบครัว, เวชศาสตร์ครอบครัว, FPL, DHML 


2) มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองเพื่อเป็นทีมพี่เลี้ยงในรุ่นต่อไป


3) สามารถที่จะเข้ารับการอบรมและทำงานส่งได้ตลอดหลักสูตร


2. องค์ประกอบผู้เข้าอบรม (34 คน)
1) กระบวนการคัดเลือกผู้เข้าอบรม: คัดเลือก โดยมอบหมายให้ชมรมเภสัชกรปฐมภูมิในแต่ละเขตเป็นผู้คัดเลือกผู้เข้าอบรมและจะต้องไม่ซ้ำจังหวัดกับ FCPL รุ่น 1
2) เภสัชกรโรงพยาบาล/ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. (26 คน) ส่งรายชื่อไม่เกินศุกร์ที่ 22 พ.ค.58 โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด และมอบหมายผู้แทนชมรมเภสัชกรปฐมภูมิ คัดเลือกเภสัชกรเข้าอบรมดังต่อไปนี้


• สปสช.เขต 1: ภญ.อรวรรณ
• สปสช.เขต 2: ภก.ดร.วีระพงษ์
• สปสช.เขต 3: ภญ.จันทกานต์
• สปสช.เขต 4: ภญ.ปราณิสา และ สปสช.เขต 4
• สปสช.เขต 5: สปสช.เขต
• สปสช.เชต 6: ภก.สายชล
• สปสช.เขต 7: ภญ.สุภาวดี
• สปสช.เขต 8: สปสช.เขต 8
• สปสช.เขต 9: ภญ.ดร. ภญ.ยุพาพรรณ
• สปสช.เขต 10


1) รพ.ปทุมราชวงศา ภญ.จันจรีย์ ดอกบัว เหตุผล ผ่านหลักสูตรหลายสถาบัน ประสบการณ์และผลการทำงานมีเป็นจำนวนมาก
2) ?
• สปสช.เขต 11: ภญ.ศิราณี
• สปสช.เขต 12: ภญ.ศุภธิดา
• สปสช.เขต 13: สปสช.เขต กทม.

3) เภสัชกรร้านยาคุณภาพ (3 ร้าน) คัดเลือกจาก ร้านยาที่ส่งผลงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
4) อาจารย์มหาวิทยาลัย
• มหาวิทลัยศิลปากร
• มหาวิทยาลัยบูรพา
• มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
• มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
มหาวิทยาลัยอุบล หรือ มหาวิทยาลัยพะเยา

3. การประชาสัมพันธ์
• ผ่านชมรมเภสัชกรปฐมภูมิ โดยแจ้งให้ติดต่อผู้แทนแต่ละเขต
• Web สภาเภสัชกรรม

4. ในกรณีที่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกสละสิทธิ์ ผู้คัดเลือกจะเลือกโรงพยาบาลใหม่ และไม่ควรซ้ำจังหวัด

5. หลักฐานการสมัคร ประกอบการพิจารณาคัดเลือกการอบรม
1) งานเภสัชกรรมปฐมภูมิในความรับผิดชอบ
2) โครงการด้านปฐมภูมิที่อยากจะพัฒนา ในรูปแบบโครงการ หรือ one page presentationมีพื้นที่เป้าหมายแล้วหรือไม่ ถ้ามี โปรดระบุ
3) ข้อมูลพื้นฐาน ตามแบบฟอร์ม

6. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สภาเภสัชกรรมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้แก่ผู้เข้าอบรม ได้แก่ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหารระหว่างการอบรม ค่าเอกสารประกอบการอบรม

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) ได้ครูพี่เลี้ยงงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ที่มีความรู้และทักษะในงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน ไม่น้อยกว่า 34 คน
2) ได้โครงการพัฒนางานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน ไม่น้อยกว่า 34 โครงการ
3) ครูพี่เลี้ยงมีทักษะในการจัดกระบวนการเรียนรู้ งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เภสัชกร ต้องสื่อสารกับประชาชน ด่วนครับ

ทำไม เราต้อง สื่อสารกับ ประชาชนด้วย ครับ


ผม ขอตอบง่ายๆ เลยว่า หากเภสัชกร ไม่สื่อสาร


พ่อค้า แม่ค้า พวกหลอกขายของชาวบ้านจะทำ


และทำไปนานแล้ว ผ่านวิทยุชุมชน ขายตรง


เคเบิ้ลทีวี มี หลอกขายยา สมุนไพร อาหารเสริม


หลอกเงินชาวบ้าน ประจำ พวกเขาจะบอกว่า


ยา มันไม่ดี กินมากๆ ไตวาย อันตรายน่ะ




สมุนไพร น้ำผลไม้เรา มาจากธรรมชาติ


ดีมาก ได้ผล ปลอดภัย หายป่วย ลองดูสิ


ก็จะมีหน้าม้า มาเล่าให้ลูกค้าฟัง ว่าดีอย่างโน้น


ดีอย่างนี้  และนี่คือเหตุผล ที่เรา


เภสัชกร ต้องออกไปสื่อสารกับประชาชน


และต้องทำให้เร็ว และดี ด้วยครับ พี่น้อง


ตัวอย่าง สมุนไพร รักษาเบาหวาน ลงโฆษณา ผ่าน google ด้วย ผิดกฏหมายเต็มๆ



http://www.narahthailand.com/page.php?tokenWeb=MTE0ODQ=&pID=66299

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

เภสัชกรโรงพยาบาล ทำอย่างไร ชาวบ้านจะรักและนับถือ

เภสัชกรโรงพยาบาล สามารถ ทำให้ ชาวบ้านรัก เคารพ และ นับถือได้ ครับ
ผมทำมันมาแล้ว และ จะมาเล่าต่อ ให้ทุกๆ คน ฟังว่าผมทำอย่างไร