วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เภสัชกร กับ การเป็นผู้นำใน Easy Asthma and COPD Clinics

        ในโรงพยาบาลชุมชน อย่างอุบลรัตน์ แพทย์มักจะย้ายบ่อยๆ  อยู่ไม่เกิน 2 ปี ก็จะไปเรียนต่อ และไม่กลับมาทำงานที่อุบลรัตน์หลังจากกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มีแพทย์จบใหม่  ที่ประสบการณ์น้อย จึงทำให้มีปัญหาในการรักษาโรคเสมอๆ  โดยเฉพาะโรคหืด  และ COPD มีแนวคิดในการรักษาที่เปลี่ยนไป   หากรักษาไม่ถูกวิธี  สั่งยาไม่เหมาะสมแล้วนั้น ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก  เภสัชกรอย่างผมที่ทำงานมานาน กว่า 19 ปี พอจะได้อบรม Easy Asthma and COPD Clinics หลาบสิบรอบ และเคยทำวิจัยในผู้ป่วยโรคหืดมาแล้ว  พร้อมทั้งได้เป็นผู้ก่อตั้ง  Asthma Clinics  ตั้งแต่ปี พศ.2542 มาแล้ว



       ปัญหาในการทำงานก็คือ แพทย์จบใหม่หลายคน วินิจฉัยโรคหืด ไม่เป็น  บางคนก็ดูไม่ออกว่า COPD ต่างกับ HF อย่างไร เมื่อเภสัชกร ได้ฝึกอบรม อย่างต่อเนื่องหลายปี ประกอบกับมีชั่วโมงบินในการบริบาลคนไข้มากมายหลายร้อยเคส ทำให้เภสัชกรเก่งมากพอจะเป็นผู้นำในทีมEasy Asthma and COPD Clinics ได้โดยระบบการจัดการได้แก่้

1 แผนการรักษาด้วยยา ในผู้ป่วย Asthma and COPD
2 แนวทางการวินิจฉัย และ ติดตาม ประเมินผู้ป่วย
3 การวางระบบให้สุขศึกษาผู้ป่วย
4 ระบบข้อมูลผู้ป่วยผ่านเว็บ http://eac2.easyasthma.com/index.php
5 การส่งต่อผู้ป่วยให้ รพสต และการเยี่ยมบ้าน

สมัยตอนเรียน อาจารย์ที่คณะเภสัช  มักสอนเสมอว่า  เภสัชกร ต้องเล่นบทเป็นพระรอง เล่นเป็นพระเอกไม่ได้  แต่ด้วยข้อจำกัดในโรงพยาบาลชุมชน  ที่แพทย์โยกย้ายบ่อยมีแต่แพทย์มือใหม่ บางครั้ง แพทย์บางคนแยกไม่ออก ว่า COPD ต่างจาก CHF อย่างไร ทำไมผ้ป่วยโรคหืดต้องสั่งยา Budesonide inhaler ใช้ Ventolin MDI เดี่ยวๆ ไม่ได้ หรือ เพราะแบบนี้  เภสัชกรบ้างครั้ง ก็ต้องเล่นบทนำครับ เพื่อชาติ ก็ต้อง เปลี่ยนผู้นำกันบ้างครับ  หากเภสัชกรทำงานเต็มที่ เรียนรู้ เรื่องการบริบาลผู้ป่วย อย่างเต็มที่ ก็สามารถเป็นผู้นำทางคลินิกได้เช่นกัน  การนำทีม อย่างเต็มรูปแบบ 100% รับผิดชอบเต็มที่ คงเริ่ม 1 กค 57 เลยครับ โปรดติดตามผลกันน่ะครับ

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เตรียมตัว เป็นแหล่งฝึกว่าที่เภสัชกร เพื่อประเทศไทย

ผมเอง ทำงานมานาน มากเกือบ 20 ปี แล้ว ส่วนใหญ่ จะทำงานเป็นเภสัชกร
โรงพยาบาลชุมชน  มีเคยไปสอน วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร มั่่ง เป็น เภสัช
สสจ.มั่่ง เล็กๆ น้อย ไม่ถึงปีดี ตอนนี้ ก็อยู่ รพ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ต้องรับฝึกงาน
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ มากมาย  โดยตอนนี้ ก็รับฝึก


1 หลักสูตรคุ้มครอง ปี 6 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 หลักสูตรเภสัชกรรมปฐมภูมิ  ปี 6 ม.วลัยลักษณ์
3 หลักสูตร ปี 4 Summer รับ ทุก มหาวิทยาลัย

ในอนาคต อยากเป็นแหล่งฝึกงานเภสัช หลักสูตร Ambulatory Care 
 (บริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก) อีก 1 หลักสูตร

แต่ยัง ไม่มีมหาวิทยาลับใดส่ง นศ. มาฝึกงาน Ambulatory Care ที่นี่ เพราะอาจมองว่า โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ  บังอาจฝึก Ambulatory  Care แข่งกับ โรงพยาบาลใหญ่ๆ  ผมเชื่อว่า ที่ อุบลรัตน์มีดี

ก็แล้วกันครับ โดยตอนนี้ผม ได้ทำ Facebook Group เพื่อ ใช้ติดต่อสื่อสาร
ใช้ Google calendar ในการนัดหมาย งาน เตือน ความ จำ ใช้ Google form ทำแบบทดสอบความรู้

และใช้ YouTube ในการสอนเนื้อหาวิขาการแบบออนไลน์
สำหรับ ข้อดี ของการมาฝึกที่อุบลรัตน์ น่าจะได้แก่

1 ได้ส่งมอบยาพร้อมใช้เวชระเบียนทุกเคส
2 ได้ร่วมประชุมกรรมการยา  และ ออกนิเทศ รพสต.
3 ได้ฝึกการเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม
4 ได้ฝีกซักประวัติตรวจร่างกายทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยนอก


5 ได้ทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิระดับชุมชน
6 มีโครงการแก้ปัญหาสาธารณสุข ระดับอำเภอ
7 ได้อ่าน เอกสารงานวิจัย งานวิชาการ เน้น pharmacist intervention
8 ได้ดูแลคนไข้จริงๆ ต่อเนื่องโดย ใช้ case management
9 ได้พัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมเป็นระบบผ่าน บอร์ดกรรมการโรงพยาบาล
10 มีการฝึกการบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอีกด้วยครับ

ในอนาคต เรามีโครงการเป็นแหล่งฝึกเภสัชกร ให้กับ สปสช เพื่อที่จะ สรรสร้าง เภสัชกรที่ทำงานเภสัชกรปฐมภูมิเป็นครับ