วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พา อสม ไตวายไปฟอกไต บันทึกเส้นทาง

                      สวัสดีครับ ผมเภสัชเอก กลับมาพบท่านผู้อ่าน  อีกแล้ว มาคราวนี้ ผมอยากจะเล่าเรื่องการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในบทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน ผมพบว่าในแทบทุึกโรงพยาบาล จะมีคนไข้ไตวายที่ต้องมารับบริการทุกวัน        คนไข้ไตวายส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจาก  โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และนิ่วในหน่วยไต เมื่อผู้ป่วยไตวายๆ มาก หากคำนวณแล้ว GFR < 10 ml/min ก็แสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายแล้ว อย่างผู้ป่วยรายนี้ เป็น อสม. เป็นเบาหวานมานานหลายปี  น้ำตาลในเลือดมักสูงบ่อยๆ   ทำให้เกิดภาวะไตวายมา 3 ปี และในปี 2556 ก็เข้าสู่ ไตวายระยะสุดท้ายโดยมี Cr สูงกว่า 6.0 มก./ดล.  และ คำนวณค่า GFR แล้วได้น้อยกว่า 10  มล./นาที



       
                   ผู้ป่วยรายนี้ เป็น อสม.แต่สุขภาพยังดี อายุเพียง 56 ปี เริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย ซีก ความดันโลหิตสูง แต่ยังไปทำงานได้ เกี่ยวข้อง  หรือ ขับมอเตอร์ไซด์ได้อยู่แม้จะเหนื่อยก็ตามที  ปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ คือแกยังไม่เข้าใจว่าแกอาจต้องฟอกไต  เพราะยังรู้สึกว่าพอมีเรียวแรง และมีแค่ เภสัชกรอย่างผม  และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเท่านั้น  ที่แนะนำให้คนไข้เตรียมฟอกทดแทนไต   อสม รายนี้ ยังลังเลอยู่เพราะคงกลัวการฟอกไต  และ คิดว่ามีค่าใช้จ่ายที่แพงมากนั่นเอง แต่ผมเภสัชกรเอก ไม่ยอมแพ้ คุยกับแกบ่อยๆ   โทรไปอธิบายให้เข้าใจ   และเดินทางไปหาคนไข้ที่บ้าน จนแกยอมจะไปฟอกไตขั้น ต่อไปก็คือ ขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อไป โรงพยาบาลขอนแก่นนั่นเอง


   
   มีเรื่องที่น่าสนใจที่คนไข้เล่าให้ผมฟังว่าได้อ่านป้ายเกี่ยวกับการรักษาโรคไตวายโดยว่าน ราคา 15000 บาท  น่าสนใจมากแต่ราคาแพงไป หน่อย และต้องไปเอายาถึงอุบลราชธานีซึ่งไกลมาก
คนไข้รายนี้ บอกว่า เกือบไปซื้อ ยาล้างไตชุดละ 15000 บาท กินแล้ว เพราะ สรรพคุณดีมาก ป้ายโฆษณา ก็ติด อยู่โรงแรมสวน 7 พี่น้อง มันหยาม เภสัชกร อย่างผมมาก เลือดนักคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นหน้าทันที นึกเห็น หน้าพี่ภานุโชติ ลอยมาแต่ไกล โชคดีที่มาทันไม่งั้นเสียเงินฟรี 15000 บาท กับยาว่านผีบอกแล้ว

ขั้นตอนต่อไป คือ ขอใบส่งตัวไป โรงพยาบาลขอนแก่น  และ พาคนไข้ไปพูดคุยกับ คนไข้ที่ทำ CAPD อยู่


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานเภสัชกรปฐมภูมิ ฉบับเดินหน้าสุดซอย

ปีนี้ งบ 2557 จะลุยงานเภสัชกรรมปฐมภูมิแบบเต็มที่สุดซอย โดย แยกเป็น 5 ประเด็น

งานส่วนใหญ่จะดำเนินการ ผ่านความร่วมมือ กับ รพสต และ ภาคประชาชน

แผนภูมิ 3 ประสาน

1 งานประกันคุณภาพระบบยา ตามเกณฑ์ PCA 
*งานบริหารเวชภัณฑ์ ระบบตรวจสอบภายใน
*ความรู้คู่ยา
* การส่งมอบยาแก่ผู้ป่วย
*การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

2 การจัดการปัญหาด้านยาที่สำคัญ
* ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา(non compliance)
* อาการไม่พึงประสงค์จากยา(ADE)
* การเก็บรักษายา

3 การสร้างทีมงาน 3 ประสาน ฝ่ายเภสัชกรรม เจ้าหน้าที่ รพสต. และ ประชาชน
* เน้นสัมพันธภาพที่ดี กัลยาณมิตร
* พัฒนาเน้นที่ทักษะ และเสริมความรู้
* แนวคิด ทิศทาง ตรงกัน คือ เวชศาสตร์ครอบครัว
* สร้าง แรงใจ ไฟฝัน และ อุดมการณ์

4 แก้ปัญหาตรงประเด็น
* HT Uncontrol
* DM Uncontrol
* DM Admit
* Asthma Admit
* การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย(Palliative Care)

5 งานบริบาลชุมชน( Community Care)
*งานเภสัชกรรมคลินิกระดับชุมชน
*การพึ่งตนเองของภาคประชาชน
*งานคุ่้มครองผู้บริโภค