วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ของอำเภออุบลรัตน์


งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ



งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ประกอบด้วยงาน  5 ส่วน
โดย ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

1 พัฒนาระบบยา PCA ใน รพสต
2 งานเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม
3 งานส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบยาชุมชน
4 งานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
5 งานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


ระบบยา ใน รพสต ตามเกณฑ์ PCA

  1. การจัดซื้อ จัดหา
  2. การเก็บรักษา
  3. การเบิกจ่าย
  4. การส่งมอบยา
  5. การติดตามการใช้ยา


งานเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม

จะเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่เกิดปัญหาจากยา หรือ มีความเสี่ยงทางยาเกิดขึ้่น โดยเน้นไปที่โรคเรื้อรัง จัดการปัญหาที่สืบเนื่องมาจากยา    เป็นการบริบาลผู้ป่วย ผู้ดูแล และ สมาชิกในครอบครัว ให้มี ศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองได้


งานส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบยาชุมชน

  • การใช้ยาสามัญประจำบ้าน
  • การใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง
  • การจัดการปัญหาด้านยาที่สำคัญในชุมชน


งานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

  • ให้ความรู้เรื่องสิทธิผู้บริโภค
  • ตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • การรับข้อร้องเรียนต่างๆ
  • การสื่อสาร ข้อมูลย้อนกลับให้ประชาชน
  • การส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชน


งานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

  • การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
  • การคัดกรองและจัดการปัญหาด้านยาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ ADE
  • การเก็บรักษายาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงการอาหารปลอดภัยอำเภออุบลรัตน์

อาหารปลอดภัย สำคัญ มากกว่าที่คิด

ตัวผมเองถึงแม้จะเป็นเภสัชกร  ที่มีหน้าที่ในงานเภสัชกรรมคลินิก  และงานบริการทางเภสัชกรรมเป็นหลัก    แต่อย่างไรก็ตาม  ตัวชี้วัดระดับจังหวัดนั้น ยังเน้นย้ำถึง เรื่องอาหารปลอดภัยอยู่เสมอ ตัวผมเอง   เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล  และ เจ้าหน้าที่ รพสต. หรือแม้แต่ ข้าราชการในหน่วยงานอื่น  ยังคงจำเป็นต้องบริโภคอาหารในอำเภออุบลรัตน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



ดังนั้นผมเองก็คิดง่ายๆ ว่า ผมต้องกินอะไร อาหารนั้น ต้องปลอดภัย แสดงว่า ก๊วยเตี๋ยวต้องปลอดภัย เนื้อย่างเกาหลีต้องปลอดภัย น้ำดื่ม น้ำเข็งต้องปลอดภัย ตลาดสดปลอดภัย ร้านอาหารปลอดภัย และ อื่นๆ อีกมากมาย  โดยเราจะเริ่มกระบวนการดังนี้

1 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจ นโยบายและทิศทางอาหารปลอดภัย
2 สุ่มตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆ  และ สถานประกอบการด้านอาหาร
3 ให้ความรู้และความตื่นตัวต่อแนวคิดอาหารปลอดภัยแก่ภาคประชาชน
4 รับรองผลิตภัณฑ์  และ สถานประกอบการด้านอาหารว่าปลอดภัย
5 ส่งเสริมความเข้มแข็ง และ ศักยภาพของผู้บริโภค 

นโยบาบอาหารปลอดภัย เป็น KPI จุดเน้นของ สสจ.ขอนแก่น ด้วย ใน 6 จุดเน้นปีนี้

นี่คือนโยบาย จากกระทรวงสาธารณสุขครับ
เรียน  ผู้รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดทุกจังหวัด

จากการประชุมมอบหมายนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกท่าน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 และ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สรุป ดังนี้
วิสัยทัศน์ : ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ :
1. กำหนดนโยบาย มาตรฐาน กฎหมาย และบริหารจัดการบนฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและการจัดการความรู้ รวมถึงการติดตามกำกับประเมินผล (Regulator)
2. จัดระบบบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงบริการศูนย์ความเป็นเลิศที่มีคุณภาพครอบคลุมและระบบส่งต่อที่ไร้รอยต่อ (Provider)
เป้าหมาย :
1. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 80 ปี
2. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี

หลักการร่วมที่เน้นในปี 2557 คือ “Good Health Starts Here: สุขภาพดี เริ่มต้นจากที่นี่” ให้อยู่ภายใต้จิตสำนึกของประชาชนทุกคน (Health Conscious mind) ก่อนที่จะเลือกซื้อ เลือกรับประทาน จะต้องคำนึงถึงสิ่งนั้นว่าจะมีผลดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพหรือไม่
ที่มา http://www.fda.moph.go.th/food_safety/frontend/theme_1/index.php



วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พา อสม ไตวายไปฟอกไต บันทึกเส้นทาง

                      สวัสดีครับ ผมเภสัชเอก กลับมาพบท่านผู้อ่าน  อีกแล้ว มาคราวนี้ ผมอยากจะเล่าเรื่องการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในบทบาทของเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชน ผมพบว่าในแทบทุึกโรงพยาบาล จะมีคนไข้ไตวายที่ต้องมารับบริการทุกวัน        คนไข้ไตวายส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจาก  โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ และนิ่วในหน่วยไต เมื่อผู้ป่วยไตวายๆ มาก หากคำนวณแล้ว GFR < 10 ml/min ก็แสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้ายแล้ว อย่างผู้ป่วยรายนี้ เป็น อสม. เป็นเบาหวานมานานหลายปี  น้ำตาลในเลือดมักสูงบ่อยๆ   ทำให้เกิดภาวะไตวายมา 3 ปี และในปี 2556 ก็เข้าสู่ ไตวายระยะสุดท้ายโดยมี Cr สูงกว่า 6.0 มก./ดล.  และ คำนวณค่า GFR แล้วได้น้อยกว่า 10  มล./นาที



       
                   ผู้ป่วยรายนี้ เป็น อสม.แต่สุขภาพยังดี อายุเพียง 56 ปี เริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย ซีก ความดันโลหิตสูง แต่ยังไปทำงานได้ เกี่ยวข้อง  หรือ ขับมอเตอร์ไซด์ได้อยู่แม้จะเหนื่อยก็ตามที  ปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ คือแกยังไม่เข้าใจว่าแกอาจต้องฟอกไต  เพราะยังรู้สึกว่าพอมีเรียวแรง และมีแค่ เภสัชกรอย่างผม  และผู้อำนวยการโรงพยาบาลเท่านั้น  ที่แนะนำให้คนไข้เตรียมฟอกทดแทนไต   อสม รายนี้ ยังลังเลอยู่เพราะคงกลัวการฟอกไต  และ คิดว่ามีค่าใช้จ่ายที่แพงมากนั่นเอง แต่ผมเภสัชกรเอก ไม่ยอมแพ้ คุยกับแกบ่อยๆ   โทรไปอธิบายให้เข้าใจ   และเดินทางไปหาคนไข้ที่บ้าน จนแกยอมจะไปฟอกไตขั้น ต่อไปก็คือ ขอใบส่งตัวจากโรงพยาบาลเพื่อส่งต่อไป โรงพยาบาลขอนแก่นนั่นเอง


   
   มีเรื่องที่น่าสนใจที่คนไข้เล่าให้ผมฟังว่าได้อ่านป้ายเกี่ยวกับการรักษาโรคไตวายโดยว่าน ราคา 15000 บาท  น่าสนใจมากแต่ราคาแพงไป หน่อย และต้องไปเอายาถึงอุบลราชธานีซึ่งไกลมาก
คนไข้รายนี้ บอกว่า เกือบไปซื้อ ยาล้างไตชุดละ 15000 บาท กินแล้ว เพราะ สรรพคุณดีมาก ป้ายโฆษณา ก็ติด อยู่โรงแรมสวน 7 พี่น้อง มันหยาม เภสัชกร อย่างผมมาก เลือดนักคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นหน้าทันที นึกเห็น หน้าพี่ภานุโชติ ลอยมาแต่ไกล โชคดีที่มาทันไม่งั้นเสียเงินฟรี 15000 บาท กับยาว่านผีบอกแล้ว

ขั้นตอนต่อไป คือ ขอใบส่งตัวไป โรงพยาบาลขอนแก่น  และ พาคนไข้ไปพูดคุยกับ คนไข้ที่ทำ CAPD อยู่


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานเภสัชกรปฐมภูมิ ฉบับเดินหน้าสุดซอย

ปีนี้ งบ 2557 จะลุยงานเภสัชกรรมปฐมภูมิแบบเต็มที่สุดซอย โดย แยกเป็น 5 ประเด็น

งานส่วนใหญ่จะดำเนินการ ผ่านความร่วมมือ กับ รพสต และ ภาคประชาชน

แผนภูมิ 3 ประสาน

1 งานประกันคุณภาพระบบยา ตามเกณฑ์ PCA 
*งานบริหารเวชภัณฑ์ ระบบตรวจสอบภายใน
*ความรู้คู่ยา
* การส่งมอบยาแก่ผู้ป่วย
*การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

2 การจัดการปัญหาด้านยาที่สำคัญ
* ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา(non compliance)
* อาการไม่พึงประสงค์จากยา(ADE)
* การเก็บรักษายา

3 การสร้างทีมงาน 3 ประสาน ฝ่ายเภสัชกรรม เจ้าหน้าที่ รพสต. และ ประชาชน
* เน้นสัมพันธภาพที่ดี กัลยาณมิตร
* พัฒนาเน้นที่ทักษะ และเสริมความรู้
* แนวคิด ทิศทาง ตรงกัน คือ เวชศาสตร์ครอบครัว
* สร้าง แรงใจ ไฟฝัน และ อุดมการณ์

4 แก้ปัญหาตรงประเด็น
* HT Uncontrol
* DM Uncontrol
* DM Admit
* Asthma Admit
* การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย(Palliative Care)

5 งานบริบาลชุมชน( Community Care)
*งานเภสัชกรรมคลินิกระดับชุมชน
*การพึ่งตนเองของภาคประชาชน
*งานคุ่้มครองผู้บริโภค



วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรอย่างผม มีงานอดิเรกคือการไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย

เภสัชกรโรงพยาบาลอย่างผม ทำงานทั้งวันไม่จ่ายยาให้คนไข้
ก็ต้องเข้าประชุมต่างๆ นานา  มากมาย แต่เมื่อมีเวลาว่าง
จากการทำงาน งานอดิเรกของผมคือ การไปเยี่ยมบ้าน
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยทำหน้าที่ ของเภสัชกรไป ติดตามการใช้ยา
ไปดูปัญหาด้านต่างๆ ของผู้ป่วย อย่างผู้ป่วย 2 รายนี้
เป็นคนไข้เบาหวาน คนพี่น้ำตาลสูงมากมี FBS มากกว่า 400 มก./ดล.
 ส่วนคนท้องเบาหวานติดบุหรี่ และไตเริ่มเสื่อมแล้ว
เภสัชกร อย่างผม มีงานอดิเรก คือการไปเยี่ยมบ้าน
ไปไตร่ถาม ความทุกข์ยากของคนป่วย ไปให้กำลังใจ
ไปให้คำแนะนำกับผู้ป่วย ที่สำคัญไปสร้างมิตรไมตรีกับผู้ป่วย
ด้วยครับ  กรณีรายแรกที่น้ำตาลในเลือดสูง
แนะนำให้กินแกงจืด  หรือ แกงอ่อม ถ้วยใหญ่ ก่อนกินข้าวทุกมื้อ
กรณีผู้ป่วยเบาหวานพิการ ถูกตัดขา และไตเริ่มเสื่อม
แนะนำให้ลด ล่ะ เลิก เกลือ กับ น้ำปลา และตามเยี่ยอมกับต่อไป
ได้ผลการติดตามเมื่อใดจะมารายงานผลให้ฟังอีกวันหลังครับ

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อเจอคนไข้หัวดื้อ เภสัชกรอย่างเรา ควรทำอย่างไร



เมื่อเจอคนไข้หัวดื้อ เภสัชกรอย่างเรา ควรทำอย่างไร
โดย ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม



                 พี่น้องเขียวมะกอกทุกท่าน เคยเจอไหมครับ ที่คนไข้บางคน เราบอก เราสอนอย่างไร คนไข้ก็ดื้อไม่ยอมฟังเรา เช่น
·      เป็นเบาหวานแต่ให้งดอาหารไม่ยอมงด
·      เป็นโรคหืดแต่ให้พ่น Controller ทุกวัน ไม่ยอมพ่นอีก
·      คนไข้ไตวายแต่ไม่เลิกกินอาหารเค็ม
·      คนไข้โรคหัวใจแต่ยังสูบบุหรี่อยู่
·      คนไข้โรคเอดส์ ที่ขาดยาเป็นปี

เภสัชกรอย่างเราควรรับมืออย่างไร กับคนไข้แบบนี้

ขั้นแรก ผมจะตั้งใจฟังเขาก่อน ให้เขาเล่าให้ฟัง แบบสบายๆ  ทำให้คนไข้ยอมรับในตัวเภสัชกรมากขึ้น   ต่อมาผม อาจหาเวลาไปเยี่ยมบ้านคนไข้หรือ โทรศัพท์ คุยกับคนไข้ สอบถาม เรื่องราวต่างๆ ด้วยความเป็นห่วง  เพื่อให้เราเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น และ คนไข้ยอมรับในตัวเภสัชกรมากขึ้น

ขั้นตอนต่อมา เราก็ยกตัวอย่าง สถานการณ์ที่เป็นจริง เรื่องผลร้ายที่ตามมา หากไม่ทำตามคำแนะนำของเภสัชกร ให้คนไข้เข้าใจว่า ทำไมเราต้อง บอกให้คนไข้ทำอะไรแบบนั้น แบบรู้เหตุผลและเข้าใจ หากคนไข้มีท่าทีที่ดี หรือ เปลี่ยนพฤติกรรม ต้องรีบชมเชยคนไข้ทันทีเลยครับ นอกจากนี้ เราอาจบอกให้เห็นข้อดี ด้วย เช่น หากพ่นยาตัวนี้ทุกวัน  พ่อใหญ่ก็จะแข็งแรงขึ้น มีแรงไปนาได้ไง เคล็ดลับก็  มีแค่นี้ จริงๆครับ

พยายามรับฟังคนไข้   และ พูดจาด้วยภาษาง่ายที่ผู้ป่วยเข้าใจได้ครับ ไม่ยากครับ



ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้
การบอกสอน ให้สุขศึกษา อาจไม่ได้ผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย

การตั้งใจฟัง การเอาใจใส่คนไข้เป็นพิเศษ ทำให้คนไข้ยอมรับในตัวเภสัชกรเพิ่มขึ้น

การจูงใจให้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เน้นการอธิบายข้อดี ข้อเสีย อย่าตรงไป ตรงมา ด้วยภาษาง่ายๆ
การจ้องชมเชย คนไข้ทันที อย่างจริงใจ ช่วยให้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ผลมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จ่ายยาแบบเข้าตา ประชาชนทำอย่างไร

    


        
ผมเชื่อว่า    เภสัชกรหลายคนๆ คงจะรู้สึกเหมือนผม ว่าบางครั้ง

 ชาวบ้าน หรือ คนนอก มองอย่าง ดูถูกงานจ่ายยา ของเภสัชกร

ว่าเป็น งานง่ายๆ งานหมูๆ    ได้ยินแล้วก็ชวนหงุดหงิด

 หงุ่นหง่านใจ   เป็นยิ่งนัก แต่ว่า หากเราตรึกตรองดู สิ่งที่

พวกเขาว่า หรือ ดูพวกเรานั้น มันมีเหตุผลอยู่เหมือนกัน  เพราะ

งานจ่ายยา ตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้น  เภสัชกร มีเวลาให้คนไข้่

น้อยมาก หลายๆครั้ง  เรามีเวลาในการส่งมอบยา แค่ 1 นาที


สอบถามชื่อ นามสกุล อธิบายการใช้ยาให้คนไข้ 1 นาที หมดเวลา


ทำให้คนไข้ อาจเข้าใจ ไปว่า แค่อ่านวิธีใช้ยาตามหน้าซอง

และ จ่ายยาตามแพทย์สั่งนั้น งานง่ายมาก ใครๆ ก็ทำได้

นั่นเองเป็นสิ่งที่เราต้องขบคิดให้แตกว่า ทำอย่างไร

บทบาทในการจ่ายยา ของเภสัชกร จะโดดเด่น และดูดี




ขึ้นมาได้เอาให้โดนใจคนไข้เลย ทำอย่างไร มันจะ change

เพราะตอนนี้ ผมได้ คิดว่าพวกเราถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว

เราต้องเปิดเกมส์รุกใหม่ๆ แล้ว หาก เภสัชกรมัวทำตัวแบบเดิมๆ

ผลลัพธ์ ก็คงเดิม คือว่าเราคงดูแย่ในสายตาคนทั่วไป เหมียลเดิม



เชื่อไหมตอนที่ผมอายุ 10 ปี ผมก็คิดว่า่ งานเภสัชกร มันโคตรสบาย

เหมือนกัน ทำให้ตอนเด็กๆ  นั้น ผมอยากเป็นเภสัชกรมาก 

สิ่งแรก ที่ผมทำก็คือ เราต้องได้ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม นั่นคือ

เภสัชกร ต้องได้เวชระเบียนคนไข้ ดังคำที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า




รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะ ร้อย ครั้ง







ในการจ่ายยา เภสัชกร ถ้ารู้แค่ ชื่อ นามสกุล ชื่อยา จำนวนยา

เภสัชกรที่รู้แค่นี้  ตามใบสั่งยา และมีเวลาแค่ 1 นาที เราจะไปทำอะไรได้

สิ่งที่เราได้เหมือน พ่อครัวรับ order จากลูกค้าแค่นั้นเอง กากมาก

เราจะไม่สามารถ แสดงทักษะความรู้ทางเภสัชกรรมคลินิก ได้แน่นอน


ดังนั้น หากจะเปิดบทบาทเภสัชกร จ่ายยา เราต้องได้เวชระเบียนผู้ป่วย


ก่อนจ่ายยา มันจะดีกว่าแน่นอน ที่สุด และแน่นอน เคสที่เราต้อง

ดูเวชระเบียน และโชว์เหนือ อาจต้องใช้เวลา มากกว่า 1 นาที

บางรายต้องใช้เวลา 3 นาที บ้างก็ 5 นาที  บ้างก็ 10 นาที มันจำเป็น

แต่คงไม่ใช่ทุกเคส ที่เราจะจ่ายยาแบบพิเศษ ที่ใช้เวลา่แบบปกติ

ผมกะว่าคนไข้ร้อยละ 30 จะ จ่ายยาแบบพิเศษ อาจจะต้องใช้

เวลากับคนไข้ เคสละประมาณ 5 นาที  ส่วนคนไข้ทั่วไป

ร้อยละ 70 อาจใช้เวลาเหมือนเดิม คือ แค่รายละ 1 นาทีก็พอ


จากการที่ผมได้ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน ในการดูแลผู้ป่วยเกือบทุกเคส มานาน

กว่า 7 ปี ของการดูข้อมูลคนไข้แบบจัดเต็ม เกิดคุณูปการ มากมาย



ในการทำงานเภสัชกรรมคลินิก ของผม  อาทิ เช่น  การสร้างระบบ

1 การเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยไตวาย
2 การติดตามคนไข้โรคเรื้อรัง อื่นๆ ที่
  มีความสำคัญเช่น RA SLE HF MI VHD  และ NS
3 การสร้างคลินิกโรคหืดและ COPD
4 การจัดการปัญหายาในผู้ป่วย G6PD
5 การดูแลผู้ป่วย โรคตับแข็ง

 
ยกตัวอย่างใน ข้อที่ 1 เมื่อก่อนเภสัชกร อาจไม่รู้ว่าคนไข้คนใด มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ทำให้คนไข้ไตวายหลายคนได้ยา่ที่อาจเป็นอันตรายต่อไต

เช่น การได้รับยา  Metformin หรือยากลุ่ม NSAIDs

นอกจากนี้ เภสัชกรอย่างเรายังพบว่า คนไข้ไตวายหลายคน

ไม่ได้รับการรักษาหรือ ยาใดๆ เลย (มันหลุดไปได้อย่างไร)

จากการติดตามคนไข้อย่างใกล้ชิด ผมพบว่าโรคเกาต์ เป็นโรคหนึ่ง

ที่ทำให้เกิดไตวายในผู้ป่วยเกือบร้อยคนในอำเภออุบลรัตน์ 

ซึ่งเรื่องนี้ แม้แต่แพทย์เอง ก็ยังไม่เคยรู้มาก่อน

จากการที่เภสัชกร ทำงานหนัก ขยัน รู้ลึกรู้จริง เรื่องการดูแลผู้ป่วยนั้น

การทำงานของเภสัชกร ในการจ่ายยา จะดูฉลาด หรือ Smart นั่นเอง 






นอกจากนั้น      ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย  เภสัชกร ก็ยังเป็นคนแรกๆ

ที่ได้ประสานงานและส่งต่อผู้ป่วยไตวายไปฟอกไตแบบ  CAPD ที่ รพ.ขอนแก่น

กิจกรรมมากมายนี้ จะเกืดไม่ได้เลยถ้าเภสัชกร ไม่ได้เวชระเบียนผู้ป่วย

ดังนั้น การที่เราจะพลิกเกมส์  สร้างโดดเด่นในงานจ่ายยา เราต้องมีข้อมูลดี

หรือ ข้อมูลจาก เวชระเบียนนั่นเอง  และ เราอาจสอบถาม ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

จากผู้ป่วยโดยตรง ได้ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจของเราที่มีต่อคนไข้ ได้ใจเต็มๆ

และ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการทำงานเภสัชกรรมคลินิกอีกด้วย

เรียกว่า การสอบถามข้อมูลคนไข้เพิ่ม ได้ประโยชน์ 2 เด้ง




หรือ ดังคำที่ว่า  ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว  นั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กินยาเยอะ แล้วไตวาย ตับพัง จริงอ่ะ




สำหรับ เภสัชกรอ้วนๆ อย่างผม

ความเชื่อว่า กินยาเยอะๆ แล้ว
เป็นไตวาย ตับจะพัง

ทำเอาผมปวดร้าวใจมาก

ทำไม เหรอครับ ท่านผู้อ่าน

เพราะ แต่ละปี จะมีคนไข้
ไม่ยอมกินยา ตามความเชื่อนี้
คนไข้ ต้องตาย หรือ พิการ
เพราะไม่ยอมกินยา ปีละ 2-3 คน

น่าเศร้ามาก เพราะ ความเชื่อผิดๆ นี้
ทำให้คนไข้กลัวไตพัง ตับเสีย

เลยไม่ยอมกินยา จนตัวตาย อนาถมากครับ

เรื่องเศร้าที่ 1 เป็นเบาหวานกินยาเยอะ

มีลุงคนหนึ่งเป็นเบาหวานมาหลายปี
ได้ฟังโฆษณา จากวิทยุชุมชน
ว่ากินยาเยอะๆ แล้วไม่ดี ไตจะวาย
สู้กิน น้ำผลไม้วิเศษไม่ได้

น้ำผลไม้วิเศษ มีดี สกัดจากธรรมชาติ
ทำจากสมุนไพร และผลไม้ดีๆ
รักษาโรคเบาหวาน ความดันสูง
แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย
ปลุกนกเขาให้ขัน ไม่มีสารเคมีเจือปน
ไม่ทำลายตับ หรือ ไตเหมือนยาแผนปัจจุบัน

คนไข้เลยหยุดยาเอง ไม่ยอมมารับยาจากโรงพยาบาล
หยุดยาหนี หน้าไปเลย 1 ปีเต็ม
ผมเองได้มีโอกาส เจอคนไข้ที่บ้าน

พบว่าคนไข้ตัวดำ ผิดปกติ
มีขาบวมเล็กน้อย

สอบถามดูจึงรู้ว่า คนไข้
ไม่กินยาโรงพยาบาล มา1 ปีแล้ว
ผมจึงขอวัดความดันโลหิตคนไข้ดู 

ความดันบน 220 มม.ปรอท 
ความดันล่าง 120 มม. ปรอท

โอ้พระเจ้า เรียกรถพยาบาลทันที
ไปตรวจดูพบกว่าคนไข้ไตวายเพราะขาดยา
ต้องฟอกไต ถึงจะรอด 

ความซวยของคนไข้  ต่อมาไม่นาน อีก 10 วัน
คนไข้ติดเชื้อจากน้ำตาลในเลือดสูง
และตายในเวลาต่อมา

ปิดตำนาน น้ำผลไม้วิเศษ
นี่คือตัวอย่าง โทษของความกลัว

กลัวกินยาเยอะๆ แล้วไตวาย
คนไข้เลยหยุดยาเอง 1 ปีเต็ม สุดท้าย
ต้องตายเพราะติดเชื้อ-และไตวาย

น่าเศร้ามากๆ ครับ

 

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรอย่างผม จะ บังอาจ ไป หรือไม่

                        เภสัชกร บังอาจ ไปไหม????



                            ในโรงพยาบาลที่ผมทำงานอยู่ เป็นโรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ขนาด 30 เตียง
  ประชากรในอำเภอ มี 44000 คน มีเภสัชกร 3 คน แพทย์ 5 คน ทันตแพทย์ 2 คน

 ในแต่ละวัน ผมได้เจอคนไข้มากมาย ผมเอง เป็นเภสัชกรมีหน้าที่จ่ายยา ทุกวัน

ในแต่ละ วันช่วงเช้าผมคนเดียวจะจ่ายยาประมาณ 100-180 เคส

  ผมเองได้เจอคนไข้โรคหนึ่งที่น่าสงสารมากคือ คนไข้ไขข้ออักเสบรูมาตรอยด์
ภาษาอังกฤษว่า  rheumatoid arthritis ผมขอเรียกย่อๆ ว่า RA ก็แล้วกัน

จากการสำรวจคนไข้ RA ที่มารักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด 55 คน
 พบว่า พิการไปแล้ว 27 คน คนไข้ที่ได้ยา Chloroquine มี 14 คน ส่วนคนไข้ที่ได้ prednisolone มี 48 คน        ไม่มีใครเลยที่ได้ยา methotrexate หรือ sulfadiazine       เลยแม้แต่รายเดียว 


สรุป คนไข้ 41 จาก 55 คน ไม่ได้ยากลุ่้ม DMARDs รักษา rheumatoid arthritis เลย(ปวดใจครับ)

       ส่วนคนไข้ที่ไปรักษาขอนแก่น มี 15 คน ไม่อยู่ใน 55 คนที่ว่านี้
 โดยทุกรายได้ยา methotrexate นานอย่างน้อย 1 ปี
 เกิดอะไรขึ้นกับคนไข้ RA ที่อุบลรัตน์ที่พิการเหล่านั้น
เพราะ ไม่ได้การรักษา RA อย่างถูกต้องเหมาะสม
 คนไข้เลยต้องพิการ


ผมจำเป็นต้อง เสนอยา methotrexate เำพื่อใช้ในการรักษา เสียแล้ว 
บังอาจมาก เภสัชกร คนนี้  2 ปีที่แล้ว  เคยเสนอแพทย์ไปแล้ว


  แพทย์บอกว่า ถึงยังไงคนไข้ rheumatoid arthritis ก็ต้องพิการอยู่แล้ว ผมรับไม่ได้อ่ะ

ภาพคนไข้ rheumatoid arthritis ที่พิการเดินไมท่ได้ จากการใช้ยารักษา RA อย่างไม่เหมาะสม


สรุป คำถาม

1 เภสัชกรบังอาจ ไปไหมที่จะต้อง จัดการให้มีมีการสั่งยาในการรักษา RA อย่างเหมาะสม ?

2 ผมเองจะทำเช่นไร จึงจะสามารถช่วยคนไข้รูมาตรอยด์ที่น่าสงสารได้ ?

3 บทบาทและทิศทางของเภสัชกรเป็นอย่างไร เพราะปัญหาเรื่องนี้ 
ผมเชื่อว่าเกิด ในโรงพยาบาลชุมชนมากกว่าครึ่งประเทศที่ ผู้ป่วย รูมาตรอยด์ 
ไม่ได้ยารักษาโรคอย่างเหมาะสม หรือ เราจะหลับตาแล้วท่องว่า ไม่รู้ ไม่เห็นดี ?

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คนไข้เยอะ งานหนัก ไม่เหนื่อย แต่เสียว

             ขอสามคำ:  มัน เสียว มาก

      บ่อยครั้ง มีบ้างบางวันที่เภสัชกรอย่างพวกผม    ทำไมผมต้องกังวลเสมอ เวลาที่มีคนไข้มากๆ กว่าปกติ ครับ จริงๆ แล้ว เวลาคนไข้มาก  การทำงานก็เหนื่อยมากครับ แต่ผมไม่กลัวเหนื่อย แต่ผม เสียวไส้มากกว่าครับ  เพราะเมื่องานหนักมากเกินไป มันเสียวจะจ่ายยาผิดครับ



  
          ปกติในแต่ละวัน ช่วงเช้าผมคนเดียว จะจ่ายยาถึง 100 เคส เป็นอย่างน้อย บางครั้งก็มากกว่านี้   การที่ต้องจ่ายยามากๆ ในเวลาที่จำกัด ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ บางครั้ง OPD ไม่ตัดคนไข้ หลายครั้งที่ต้องจ่ายยา ไป ถึง 13.00 น.โดยไม่ได้พัก ทำให้การตรวจสอบยาผิดพลาดได้   และที่สำคัญแพทย์เองก็จะเหนื่อย เช่นกัน ทำให้เกิดความผิดพลาด เพิ่มมาอีก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่คนไข้นอกมากมาย ทะลุ 200 คนในช่วงเช้าทำให้วันนั้น มีการสั่งยาที่คนไข้แพ้   และ ห้องยาก็จ่ายยาออกไปด้วย เดชะบุญที่คนไข้ไม่เป็นอะไรมาก  และนี่คือบทเรียนที่เราต้องจดจำ  ว่าถ้าหากมีคนไข้มากเกินกำลังแล้ว  เภสัชกร อย่าฝืน ต้องกล้าหยุดพัก  อย่ารีบเร่งจ่ายยาไปโดยไม่รอบคอบ อาจโดยดีได้่ ให้ระวังก็แล้วกันครับ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกร จ่ายยาตามแพทย์สั่ง ง่ายจะตาย

                  มายาคติคนไทย  ความคิดที่ว่าการจ่ายยานั้นแสนง่าย

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม


        ผมเชื่อว่า ประชาชน หลายคน จะเข้าใจ ว่า เภสัชกร นี้ทำงาน ง่าย แค่จัดยาตามแพทย์สั่ง ก็เสร็จแล้ว งานหมูๆ ชัด หลายคนเชื่อ ว่า ชีวิตเภสัชกร ช่างง่า่ยดาย และสุขสบาย อะไรขนาดนั้น เมื่อ ก่อนสมัยผมอายุ 11 ขวบ ผมก็เข้าใจ แบบนั้นเหมือนกัน ดังนั้น ตอนผมอยู่ชั้น ป.5 ผมได้ตัดสินใจ ว่า โตขึ้นผมจะทำงานอยู่ห้องยา น่าจะสบายได้นั่งจ่ายยาในห้องแอร์เย็นๆ ไม่ต้องออกไปเจอเลือด เจอผู้ป่วย สบายๆ แน่ๆในตอนที่ผม เด็กๆ ผมก็คิดแบบนั้นครับ จึงได้ตัดสินใจมาเรียนเภสัชเมื่อโตขึ้นไงครับ ผม ขอยกตัวอย่าง เรื่องเล่า สัก 2 เรื่องให้ฟัง ว่างานเภสัชกร นั้นยากกว่า แค่สักแต่ว่าจ่ายยา ตรงไหน



            เรื่องแรกเกิดเมื่อ 14 ปีที่แล้ว  ผมพบว่าโรงพยาบาลมีคนไข้โรคหืดต้องมานอน admit ที่โรงพยาบาลเยอะมาก  จากการ ทบทวนใบสั่งยาดู ผมพบว่าคนไข้ได้แค่ยาพ่นขยายหลอดลม เท่านั้น  ยังไม่มีการใช้ ยาพ่นสเตียรอยด์ ที่ทำหน้าที่ลดการอักเสบในหลอดลมแม้แต่รายเดียว    ผมจึงได้ทำสิ่งที่แตกต่างออกไป คือ แทนที่จะแค่จ่ายยาไปตามแพทย์สั่ง  ผมก็เริ่มเชิงรุก วางระบบการสั่งยาที่เหมาะสมให้แพทย์ เพราะสมัยนั้น แพทย์หลายคนยังไม่เข้าใจว่าโรคหืดเกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง  กว่าแพทย์จะยอม ทำตามผม ก็ต้องนำเสนอ ข้อมูลงานวิจัยยานี้ ในประเทศไทย  ทาง internet มานำเสนอ ในกรรมการดูแลผู้ป่วย  ซึ่งสมัยนั้น ต้องเสียเงิน ค้นหาข้อมูลจาก medline และยังต้องไปชวน แพทย์ ที่ไฟแรงมารับผิดชอบ การจัดตั้งคลินิกโรคหืดด้วยการ มีการทำเกณฑ์วินิจฉัยโรค มีการประชุมผู้ป่วย และ จัดทำคลินิกพิเศษขึ้นมา  มันได้ผล คนไข้โรคหืด ที่ต้องนอนโรงพยาบาล จาก ปีละ 148 คน ลดลงเหลือ 32 คนต่อปี โดยมีจำนวนวันนอนรวมจากปีละ 407 วันนอน เหลือ เพียง 111 วันนอนเท่านั้น นีคือผลงานเภสัชกรรมคลินิก ที่ผมแสนจะภูมิใจ แม้จะไม่ได้ 2 ขั้นก็ตาม 555



      เรื่องที่สอง เกิดเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ เภสัชกร จะได้เวชระเบียนคนไข้แบบเต็มๆ  ไม่ใช่ได้แค่ใบสั่งยาเท่านั้น ทำให้เราได้ข้อมูล ที่มากมาย ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น เภสัชกรที่อุบลรัตน์ จะไม่ดูแค่ใบสั่งยาในวันนี้เท่านั้น  พวกเราจะย้อนกลับไปดูประวัติการรักษา และค่า Lab ต่างๆ ของผู้ป่วยในเกือบทุกครั้ง ผมจึงพบปัญหาบ่อยๆ ว่ามีคนไข้โลหิตจางมากมาย หลายคนที่ไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี ฮีโมลโกลบิน ระดับ 5-9% ซึ่งต่ำจนอันตราย คนไข้หลายคน มีอาการทรุดลงจนเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา ถึง 3 คน โดยคนไข้เหล่านี้ แพทย์ อาจจะลืมสั่งยา หรือ ลืมว่าต้องรักษาพวกเขาก็มีมาให้พบบ่อยๆ ทุก อาทิตย์ครับ ทำให้เกิด ข้อตกลงว่า เภสัชกรที่นี่ นอกจากจะดู BUN/Cr หรือการทำงานของไตแล้ว จะดูความเข้มขั้นของเลือด หรือ ฮีโมลโกลบินด้วย 




         ถึงตอนนี้ เราช่วยคัดกรอง คนไข้แบบนี้ให้แพทย์ได้ 52 คนแล้ว คนไข้พวกนี้ ก็ จะได้ยาเพื่อรักษาโลหิตจาง ตามที่ควรจะเป็น และคนไข้ ที่มี ภาวะหัวใจล้มเหลวจากโลหิตจางทั้ง 3 คนก็ดีขึ้น แล้ว  คนไข้อีก 14 คน โลหิตจางรุนแรงจากธาลัสซีเมีย 14 คนก็ถูกส่งต่อเพื่อรับการรักษา  มีคนไข้หลายคนมาแสดงความขอบคุณ และมอบของฝากให้เภสัชกร ในห้องยา พวกเราแสนจะภูมิใจมาก เพราะเภสัชกรที่นี่ ไม่ใช่แค่จ่ายยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น สวัสดีครับ ผมเภสัชเอกครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกร ออกตรวจโรงงานน้ำ ที่ ศรีสุขสำราญ

                      

           วันนี้ ช่วงบ่าย ต้องออกไปไกล ถึงศรีสุขสำราญ เพื่อ ตรวจรับรองโรงงานผลิตน้ำดื่ม ของครูแมว หมู่บ้านนี้ไกลจาก โรงพยาบาลถึง 30 กิโลเมตร ผมกับน้องนิกกี้เภสัชกร จบใหม่คนหนึ่งได้เดินทางเพื่อตรวจรับรองคึุณภาพ โรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งนี้ ซึ่งทำในบ้านเรือนไทยทรงสูงทำจากไม้ แลดูงดงาม ที่อยู่ติดโรงเรียนศรีสุขสำราญ  อาคารผลิตถูกสร้างขึ้นมาใหม่แยกจากตัวบ้าน เป็นอาคารขั้นเดียว ที่ดูสะอาดสะอ้านดี มีระบบกรองน้ำบาดาล และ ระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV  และ RO ซึ่งถือว่ามีมาตราฐานสูงมาก โรงงานก็มีระบบ flow ของงานที่ดีมาก ตึกใหม่สะอาด ดูดีมากเลยทีเดียว

          น้องนิกกี้ นั้นให้คะแนน โรงงานถึง 95/100 คะแนน เลยทีเดียว เพราะระบบงานพร้อมมาก  ขาดก็เพียงแต่น้ำยาฆ่าเชื้อไว้ล้างมือ ด้วย ครูแมวนั้นเป็นชายร่างเล็กผิวคล้ำ ที่อารมณ์ดี และเป็นคนพูดตรงเปิดเผย ผมให้คำแนะนำข้อแก้ไข ต่างๆ ให้ครูแมว และก่อนกลับโรงพยาบาลได้แวะเยี่ยมบ้านคนไข้ คือคุณยายกอง และยายทองด้วย ครับ


วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไปจ่ายยา ที่ สถานีอนามัย รพสต.โคกสูง

                     

               วันนี้ ทีมงาน รพ.อุบลรัตน์ ต้องไป จ่ายยาเบาหวาน ที่ รพสต.โคกสูง  ผมเอง ลงจากจ่ายยา ตอน 12.25 น. ก็ต้องรีบ ขึ้นมารอรถ ไป โคกสูง ออกหน่วย โดยไปที่ โคกสูง ผมมาถึง โรงพยาบาลเวลา 13.05 น. รีบมากไม่ได้กินข้าวเที่ยงเลย แต่สุดท้าย รอคนโน้น คนนี้ กว่า รถตู้จะออกได้ก็ 13.30 น.พอดี วันนี้ ตอนเช้าคนไข้ไม่มากเท่าไร  แต่เสียเวลามาก  เพราะยา propanolol 10 mg หมดพอดี เลยวุ่นวายหน่อย วันนี้ ถือเป็น นิมตรหมายที่ดีเพราะมีแพทย์ไปด้วย พยาบาล 3 คน นักกายภาพบำบัด  ทันตาภิบาล ก็มาด้วย เรียกว่าบบจัดเต็มมาก ไปจ่ายยาคนไข้เบาหวาน 6 ราย แล้ว ต่อด้วยเยี่ยมบ้าน 1 ราย คือแผนงานวันนี้ วันนี้ คุณหมอบูคนสวย(พญ.รัดเกล้า) ไปด้วย บรรยากาศเลยชิวๆ




                   พอไปถึง รพสค.โคกสูง ก็วุ่นวายพอดู เพราะอะไร ๆก็ดูไม่เหมือน อยู่โรงพยาบาล ต้องวิ่งหาหูฟัง เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก มากว่าทุกอย่างจะลงตัว คนไข้ บางคน บ่น ว่ารอนานตั้งแต่ 12.00 น.แล้ว คนไข้ มาทำไหมหนอ ตอนเที่ยง 55555  การจ่ายยาแค่ 6 เคส ได้ นั่งใกล้ชิด คนไข้ด้วยบรรยากาศสบายๆ  ก็ดีไม่น้อย เสียดายที่อากาศร้อนไปหน่อย   รพสค.โคกสูง ร้อนมากๆ ประมาณ บ่ายสอง ฝนก็ตกเทลงมา ทำให้รู้สึกสบายขึ้นเยอะมาก   จ่ายยา อธิบายซักถาม อย่างละเอียด 6 เคส จ่ายยาคุณภาพนาน 60 นาที แบบชิวๆ  คนไข้ ได้บอกอะไรเราเยอะแยะมากมาย เช่น ผู้ป่วยปรับขนาดยาเองน่ะ  ผู้ป่วยไปรักษาที่อื่นด้วย  บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่กินยาโดยเฉพาะ metformin เมื่อจ่ายยาเสร็จแล้ว



      ไปเยี่ยมผู้ป่วย อีก 2 เคส ที่นอนติดเตียง เคสแรกน่าจะ CVA หรือ ไม่ก็อัลไซเมอร์ นอนติดเตียง มา 2 ปีแล้ว จะนั่งเองก็ไม่ได้  พูดไม่ได้  นอน ถ่ายหนัก ถ่ายเบา ด้่วยแพมเพอส มา 2 ปีแล้ว เริ่มมีปัญหาแผลกดทับ คนไข้รายนี้ เป็นเบาหวานมาก่อน บ้านสวยงามมาก ฐานะดีพอสมควร  ข้าวของ เครื่องใช้ในบ้านดูดี หรูหรามาก คนไข้อีกราย เป็น RA ที่พิการ จนเดินไม่ได้ มา 5 ปีแล้ว น่าสงสารมากแต่คนไข้ก็ยิ้มได้  ใจผมเองอดคิดไม่ได้ว่า คนไข้บ้านนอก ยากจน ไม่มีโอกาส เข้าถึงยากลุ่ม DMARD คนไข้ RA จึงต้องพิการแบบนี้ น่าสงสารมาก เภสัชกร อย่างผม น่าจะ ลองพยายามทำอะไรอีกครั้ง ไว้ประชุมกรรมการยา่ ลองอีกครั้ง กับแนวคิด Proactive CPG for RA patient


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผมยกมือไหว้ผู้ป่วย ที่มีอาวุโสกว่าครับ


               ปกติคนไข้ส่วนมาก เมื่อเจอหมอ  เจอเภสัชกร หลายคนจะยกมือไหว้ แพทย์ หรือ เภสัชกร อย่างนอบน้อมผมเอง ก็รู้สึกตะขิดตะวงใจมานาน  เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ผมจึงตัดสินใจ ว่า หาก ตัวเภสัชกร อย่างเราจะดูแลคนไข้ดุจญาติมิตร เราต้องเคารพและให้เกียตริคนไข้ก่อน ผมเองจึงได้เริ่มต้น  สวัสดีผู้ป่วยที่มีอาวุโสสูงกว่าผมด้วย ความจริงใจเสมอๆ  ทุกครั้งที่จ่ายยา ถ้าไม่ลืมน่ะครับ

     การยกมือไหว้คนไข้ แรก ทำไปก็เขินๆ อยู่เหมือน กัน พอ ยกมือไหว้คนไข้บ่อยๆ ก็เริ่มชินและรู้สึกดี เราเองก็ได้ละวางอัตตา ของเรา ว่าเราคือหมอ คนไข้ต้องเคารพ เรา คนไข้ ต้องหงอให้เรา การยกมือไหว้คนไข้ผู้อาวุโสนั้น กลับได้ผลที่ดีบางอย่างก็คือ คนไข้เคารพเรามากขึ้น สุภาพกับเรามากขึ้น  เกรงใจเรามากขึ้น และนี่คือ วัฒนธรรมไทยอันดีงามที่ยกมือไหว้ ผู้อาวุโสกว่า

และ ขอสวัสดี ข้าพเจ้าูศุภรักษ์ เภสัชกรแกะดำ ครับผม

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกรโรงพยาบาล จ่ายยาอย่างไร

             ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคน  เข้าใจเพียงว่าเภสัชกร คือ คนที่ทำหน้าที่จ่ายยาให้ผู้ป่วยตามใบสั่งยาของแพทย์ ซึ่ง จริงๆ แล้วงานจ่ายยา ถือเป็นส่วนหนึงของงาน ของเภสัชกรแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของเภสัชกร ผมเองมีหน้าที่ตรวจสอบ  ก่อนจ่ายยามากมาย  โดยเฉพาะการดูความเหมาะสมในการในการสั่งยาของแพทย์ว่ามีจุดไหนบ้างที่รับไม่ได้  นอกจากนั้นก็จะเป็นการตรวจสอบว่า  การจัดยาของห้องยานั้นถูกต้องหรือไม่ก่อนจะจ่ายยาออกไป  ตัวอย่างงานของเภสัชกรได้แก่




1 ตรวจสอบว่าแพทย์สั่งยาที่ข้อห้ามใช้หรือไม่
2 ตรวจสอบว่าผู้ป่วยได้ยาที่จำเป็นเพียงพอในการรักษาโรคหรืออาการหรือไม่
3 ตรวจสอบความเหมาะสมของขนาดยาที่แพทย์สั่งว่ามาก หรือ น้อยเกินไปหรือไม่่
4 ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
5 ประเมินผู้ป่วยว่ามีการใช้ยาอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือหรือไม่


           จะเห็นได้ว่าเภสัชกร ไม่ใช่จ่ายยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น เภสัชกรต้องทักท้วง หรือแก้ไข หากพบข้อผิดพลาดในการสั่งยาของแพทย์ด้วย   และที่สำคัญ หากมีการสั่งยาไม่เหมาะสมของแพทย์แล้วเภสัชกรจ่ายยาออกไปแล้ว    เกิดผลร้ายแก่ผู้ป่วย  เภสัชกร จำเป็นต้อง รับผิดชอบ ความผิดพลาดนี้ด้วย  ดังนั้นเภสัชกร ที่ดี จะต้องทำหน้าที่ของตน ต้องรับผิดชอบ ต่อผู้ป่วยไม่ใช่สักแต่ว่า จ่ายยาไปตามแพทย์สั่งเท่านั้นผมจำได้  ใน ปี 2539 ที่ผมได้เริ่ม  ออกมาบอกแพทย์ว่า คนไข้โรคหืด จำเป็นต้องได้ยาตัวนี้ ด้วย ในตอนแรก เล่นเอาแพทย์โกรธผม จนควันออกหูเลยทีเดียวแต่ด้วย ความดื้อด้าน ของผม คนไข้โรคหืด เลยได้ยาพ่นสเีตียรอยด์กลุ่ม Controller .ซึ่งเป็นอะไร ที่หัวก้าวหน้ามาก คือ ว่า เราจะไม่แค่จ่ายยาไปวันๆ แต่เราจะ ส่งเสริมให้มีการ ใช้ยาที่ถูกต้องตามมาตราฐานวิชาชีพด้วย เรียกว่า เราเปิดเกมส์บุกก็ว่าได้


สวัสดี วันจันทร์ กับงาน ของเภสัชกรโรงพยาบาล

              สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน ผมเภสัชกรเอก เป็น เภสัชกร โรงพยาบาล มาเกือบ ตลอดชีวิตการทำงาน เคยไปทำหน้าที่อื่น ช่วงสั้นๆ ที่ สสจ.อุบลโดยเป็น เจ้าพนักงานออกตรวจโรงงานต่างๆ อยู่เกือบ 1 ปี นอกนั้น ชีวิตการทำงานของผม จะมีหน้าที่เป็นเภสัชกร โรงพยาบาลเล็กๆ ในชนบทเสียเป็นส่วนมาก ตอนเช้า จะต้องจ่ายยา อาจมีงานเอกสารมาบ้างนานๆครั้ง  ตอนบ่อยมักจะมีประชุม หรือ ไม่ก็ต้องจ่ายยา หรือ ต้องทำรายงานต่างๆ บางครั้ง ตอนเย็นว่างๆ อาจจะไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน  และอาจมีงานเอกสาร มาทำต่อที่บ้านบ้าง บางครั้ง ชีวิตของ ข้าราชการในตำแหน่งเภสัชกร ก็วนเวียนอยู่แบบนี้แหละครับ  มีทั้งเรื่องสนุก สุขใจ และเรื่องทุกข์ เรื่องเครียด ผสมปนเปกันไป ครับ




             ผมขอเล่าบรรยากาศทำงาน ในเช้าวันจันทร์ให้ฟังก็แล้วกัน ตอนเช้าที่อุบลรัตน์ แพทย์มาทำงานเร็วมาก 8 โมงกว่าๆ ก็มีใบสั่งยามาถึงห้องยาแล้วครับ ที่ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ มีบัตรคิวด้วยครับ เพราะช่วยป้องกันการจ่ายยาผิดคนได้ดี  และ ช่วยจัดคิวคนไข้ด้วย ไปในตัว ในตอนเช้า หากว่าง จะมีเภสัชกร อีก 1 คนมาตรวจสอบ ยาก่อนจ่ายยาให้คนไข้ ซึ่งจะช่วยลดความผิดพลาดลงได้มากมายครับ แต่บางครั้ง ก็ไม่มีคนช่วยเช็คยา เภสัชกร คนที่จ่ายยา เลยต้อง ตรวจสอบมากหน่อย บางครั้งก็พลาดได้ครับ ปกติใครทำข้อสอบได้ 99% ก็คงสอบได้ที่ 1 ไปแล้ว แต่ชีวิตเภสัชกร บางที จ่ายยาผิด 1 ครั้ง จาก คนไข้ 1000 คนก็อาจโดนดีได้เหมือนกัน  หลายๆคนไม่เข้าใจ ก็มักจะหาว่า พวกเราไม่รอบคอบ ไม่รับผิดชอบ ต้องทำใจครับ เรื่องนี้

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สวัสดี ครับ ผู้อ่านทุกท่าน ผมเภสัชเอกครับ

      

   สวัสดีอีกครั้ง  ผู้อ่าน ผู้ชมทุกท่าน ผม เภสัชเอก ครับ มีชื่อจริงๆว่า ศุภรักษ์ ศุภเอม เป็น ข้าราชการ ในตำแหน่งเภสัชกร โรงพยาบาลชุมชน เล็กๆ แห่งหนึ่งใน ขอนแก่น ยินดีที่ได้รู้จักครับ สำหรับบล็อกนี้ ผมอยากจะเขียน   มันเพื่อบอกเล่าเรื่องราว   ชีวิต ของ เภสัชกรอย่างผม ที่เป็นตัวตนผม ทั้งชีวิตการทำงาน มุมมองต่อชีวิต  และบทบาทของ เภสัชกรชนบท ที่ทำงานในโรงพยาบาลเล็กๆ คนหนึ่ง และนี่ไม่ใช่ บล็อกความรู้เรื่องยา หรือ แนะแนวอาชีพเภสัชกร (หากสนใจเรื่อง ความรู้ด้านยา ไปที่ http://เอกเภสัช.net/ )มันคือ Life ของเภสัชกร คนหนึ่ง ที่มี ความเป็นตัวตนแบบหนึ่ง มัน จึงเป้่นที่มาของ url ของบล็ิอกนี้ก็คือ http://Iamthepharmacist.blogspot.com มันก็คือ คำว่า  I am the pharmacist. ที่ใช้ the เพราะ ตัวผมเอง มีหนึ่งเดียว ไม่ซ้ำใคร และผมคือ เภสัชกร


ข้อมูลส่วนตัว ของผู้เขียน
ชื่อจริง ศุภรักษ์ ศุภเอม ชื่อเล่น:  พี่เอก เอกอ้วน กิมถุ่ย
ปีเกิด ไม่บอก
เรียนจบเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลับขอนแก่น ปี พศ.2538

สถานะ คู่ ลูก 1 คน ภรรยา 1 คน (จริงๆ อยากมีมากกว่า 1 คนครับ อิๆ)
น้ำหนัก ไม่บอก แต่ เลข 3 หลัก ส่วนสูง 181 เซนติเมตร
งานอดิเรก เยี่ยมผู้ป่วยตามบ้าน
เวลา่ว่าง อ่านหนังสือ และดู หนังแผ่น ดูซีรีสต์ต่างๆ
ความใฝ่ฝัน ไม่ค่อยมี อ่ะครับ แล้ว
ความภูมิใจ: ตั้งแต่เกิดมา เคยสอบที่ 1 ของห้อง 1 ครั้ง สมัยมัธยมปลาย
ข้อดี ตอนนี้ คิดไม่ออกครับ
ข้อเสีย มีมากมาย เขียนไม่หมด ครับ

วิสัยทัศน์: สร้างครอบครัวที่อบอุ่นด้วยความสุขและทำงานเพื่อสังคมอย่างสนุกเต็มที่ บนพิ้นฐาน ของสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพการเงินที่ดีมาก



สวัสดีชาวโลก .....
 ผมเภสัชเอก   ข้าพเจ้าศุภรักษ์ ยินดีที่ได้รู้จักครับ 

สนใจคุยกับผม ไปที่   https://www.facebook.com/blacksheeprx