วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

ถอดบทเรียนการฝึกงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ บ้านทุ่งโป่ง

              ผมเองเลือกบ้านทุ่งโป่ง ใช้เป็นพื้นที่ภาคสนามเนื่องจากหมู่บ้านนี้ อยู่ใกล้โรงพยาบาลติดถนนใหญ่และะิอยู่ห่างจากโรงพยาบาลเพียง 5 กิโลเมตร และที่สำคัญหมู่บ้านนี้ มีคนป่วยอยู่จำนวนมาก และเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรง  ได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง   โรคหัวใจขาดเลือด  และ โรคอัมพาตครี่งซีก โดยมีประเด็นโรคที่น่าสนใจก็คือโรคเกาต์ ที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
ในการฝึกงานผลัด 0 ของ นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้น จะเน้นการฝึกงานเภสัชกรรมปฐมภูมิทั้งระดับ ได้แก่้

  1. ระดับบุึึคคล เน้นการเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม เน้นบรรเทาทุกข์ของผู้ป่วย และ จัดการ DRP
  1. ระดับครอบครัว ดูแลทุกคนในครอบครัวที่มี ทั้งคนป่วย คนปกติ  และสุขอนามัยในบ้าน
  1. ระดับชุมชน คือ การสร้างระบบยาของชุมชนให้เข้มแข็ง และส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
โดยใน ทุกระดับจะส่งเสริมให้ทุกคน มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพเพิ่่มขึ้น โดยงาน จะครบทั้ง 4 ประเด็นส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค  รักษาโรค  และ ฟื้นฟูสภาพ
นี่คือรายละเอียด การฝึกงาน ผลัด 0


การฝึกงาน งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ผลัด 0 รพ.อุบลรัตน์ 10 กพ -21 มีค. 57
10-14 กพ. 57
แนะนำ การฝึกงานงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ทั้งหมด 26 วันทำการ ซ่อมเสริม 4 วัน รวม 30 วันทำการ
วันที่ 1หนังสือส่งตัว ดูงาน opd ipd และ พาไปดูหมู่บ้าน
วันที่ 2 ศึกษาโครงสร้างโรงพยาบาล และประชุม กรรมการยา เยี่ยมคนไข้ ipd
วันที่ 3 ไปรพสต...... ทดสอบความรู้ MI DM CKD Gout
วันที่ 4 ไปรพสต.ทรัพย์สมบูรณ์ และ ลงชุมชน บ้านทุ่งโปร่ง
วันที่ 5 ลงชุมชน บ้านทุ่งโปร่ง แผนที่เดินดิน
นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน การฝึกงานสัปดาห์ที่ 1
17-21 กพ 57
วันที่ 6 ฝึกหัดเยี่ยมบ้าน โดยมีเภสัชกร กำกับ
หัดเขียน บล็อกโดยใช้เว็บ blogger.com เพื่อบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกงาน
วันที่ 7 สอนการใช้ เครื่องวัดความดัน การเจาะเลือด ตรวจร่างกาย และ บันทึกการเยี่ยมบ้าน
วันที่ 8 สอน และฝึกงานการคัดกรองโรคเรื้อรัง + การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
วันที่ 9 ลงชุมชน บ้านทุ่งโปร่ง ประวัติชีวิต และ ผังครอบครัว
วันที่ 10 เก็บข้อมูลเชิงลึกในคนไข้ ipd คนละ 3 เคส +การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน การฝึกงานสัปดาห์ที่ 2
24-28 กพ 57
วันที่ 11 ออกให้บริบาลผู้ป่วยรายบุคคล และ เจาะลีกปัญหา non compliance
วันที่ 12 ให้การบริบาลทางเภสัชกรรม รายครอบครัว วันที่ 1 +สอน และฝึกงานการคัดกรองโรคเรื้อรัง
วันที่ 13 ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมรายครอบครัว วันที่ 2 +  ไป รพสต.... เรียนเรื่อง pca ระบบยา
การฝึกงาน งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ช่วงที่ 2
วันที่ 14 ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมรายครอบครัว วันที่ 3 +การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
วันที่ 15 ให้การบริบาลทางเภสัชกรรมรายครอบครัว วันที่ 4 + ฝึกงาน เรื่อง Case management
3-7 มีค.57
 นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน การฝึกงาน สัปดาห์ที่ 3
วันที่16 สำรวจชุมชน เพิ่ม เน้นงาน คุ้มครองผู้บริโภค
วันที่17 สำรวจชุมชน เพิ่ม เน้นงาน ระบบยาชุมชน
วันที่18 พัฒนาโครงการงานเภสัชกรรมชุมชน 1
วันที่19 พัฒนาโครงการงานเภสัชกรรมชุมชน 2 +การวางแผนระบบสุขภาพและระบบยาชุมชนร่วมกับ อสม. 1
วันที่20 การวางแผนระบบสุขภาพและระบบยาชุมชนร่วมกับ อสม. 2
นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน การฝึกงานสัปดาห์ที่ 4
10-14 มีค. 57
วันที่21 ฝึกงาน ระบบยา +คบส ที่ รพสต. วันที่  1
วันที่22  ฝึกงาน ระบบยา +คบส ที่ รพสต. วันที่  2
วันที่23  ฝึกงาน ระบบยา +คบส ที่ รพสต. วันที่  3
วันที่24 แนวคิดการเยี่ยมบ้านโดยสหสาขาวิชาชีพ + การบริบาล ผู้ป่วยที่ได้เคมีบำบัด
วันที่25 กิจกกรมตามโครงการ เน้นการเสริมพลังชุมชน
นำเสนอ สิ่งที่ได้เรียนรู้ใน การฝึกงานสัปดาห์ที่ 5



17-21 มีค. 57
วันที่ 26 ดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
วันที่ 27  สอบข้อเขียน และ สอบปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
วันที่ 28-30 ฝึกงานเสริมในส่วนขาด
สรุปและประเมินผลการฝึกงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ
เนื้อหาที่สอนเสริม
1 งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ 3 ระดับ
2 การดูแลผู้ป่วยโดยเป็น case manager
3 หลักพื้นฐานการเภสัชกรรมบำบัด
4 พื้นฐานการอ่าน paper
5 ทบทวนความรู้โรค DM CKD Gout MI
6 Pain Management
7 การบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
8 ระบบงานในฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน
9 ระบบยาใน โรงพยาบาล และ รพสต.
10 งานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
11 ระบบบริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน
12 การเขียนโครงการ
13 การสร้างความเข้มแข็งของระบบยาชุมชน
การติดตามโดยอาจารย์พี่เลี้ยง
เช้าวันจันทร์
นำเสนอแผนงานประจำสัปดาห์
เย็นวันพุธ
สรุป paper และ ความคืบหน้าของงาน
เย็นวันศุกร์
สรุป กรณีศึกษา และ สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์
หมายเหตุ ให้ นศ.เขียน บันทึกประจำวัน ผ่าน blogger.com ทุกวัน

ผลที่ได้รับ

  • นศ. สามารถปฏิบัติงานเภสัชกรรมปฐมภูมิระดับบุคคล และครอบครัวได้ดีมากในเวลาไม่นาน
  • นศ.ได้รับการยอมรับ และความรักใคร่เอ็นดูจากคนทั้งชุมชน และ เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • นศ. เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ และ มองภาพการทำงานที่ชัดเจน


วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557

ดาวดวงใหม่เกิดแล้ว ที่บ้านทุ่งโป่ง และดาวก็มีสีเขียวมะกอกด้วย



           ผมเองได้ส่ง นศ. คณะเภสัชศาสตร์ หลักสูตร เภสัชกรรมปฐมภูมิ จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในรุ่นแรกเป็นนักศึกษา 2 คนคือ น้องติดตี่ กับ น้องเอรินเอิ้ล แรกผมก็กลัวๆ คิดว่า นักศึกษาเภสัช
ผู้หญิง คงจะลุยออกหมู่บ้าน ไม่ไหว แต่ผิดคาด นักศึกษาใจสู้มาก จากวันแรก ที่อ่อนปวกเปียก ตอบคำถามอะไรก็ไม่ได้ ออกไปชุมชน ก็ดูปอดๆ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ในส่วนวิชาการที่่ขาดผมสอน
เสริมความรู้เข้าไป และ แสดงตัวอย่างในการบริบาลทางเภสัชกรรม คนไข้จริงให้ดู สอนตรวจร่างกายคนไข้ ตรวจเลือด



               วัดความดันโลหิต และ ผลักดันให้นักศึกษาลงชุมชน เกือบทุกวันไปบ้านทุ่้งโปร่ง บ้านที่ หลายๆ คนขยาดว่าชาวบ้านหัวแข็ง มาก แต่เนื่องจาก ความขยัน รับผิดชอบ ใส่ใจ ของนักศึกษาบวกกับผมแนะนำเพีัยงเล็กน้อย มันทำให้นักศึกษา เป็นชวัญใจชาวบ้านในเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น
หากใครได้ไปเห็นกับตา จะเข้าใจเลย ว่าชาวบ้านรัก และให้การยอมรับ นักศึกษามากแค่ไหน และแน่นอน ดาวดวงใหม่เกิดแล้ว ที่นี่ บ้านทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และเป็นดาวที่มี สีเขียวมะกอกด้วย — รู้สึกมีความสุขกับ Tidtee P. Rochprakasit และ 3 อื่นๆที่ บ้านทุ่งโป่ง อุบลรัตน์


2 นศ.สาวใต้ ทำได้ พิชิตใจ ชาวอีสาน บ้านทุ่งโป่งใน 25 วัน
ในเวลาไม่นาน ที่ นศ.สาวใต้ 2 คน จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงไปบ้านที่ว่าหินมากที่สุด คือบ้านทุ่้งโป่ง (บ้านคนเสื้อแดง)ที่มีคนไข้มากมาย และ ชาวบ้านหลายคนฐานะดี สิ่งที่สามารถเรียนรู้จากการฝึกงานครั้งนี้ก็คือว่า ทำไมชาวบ้านทุ่้งโป่งนั้น จึงยอม รับนศ.สาว จาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เนื่องจาก
1 ความสามารถในการลุย ในการเดินไปทุกพื้นที่ในหมู่บ้านเดินสำรวจอย่างตั้งใจพยายามทำแผนที่เดินดินด้วยตนเองทั้งหมด และค้นหาบ้าน อสม. บ้่านคนป่วย บ้่านผู้นำชุมชน มากมาย เพื่อที่จะเข้าใจบริบทของชุมชนอย่างจริงจัง และผมเองก็ยังให้ นศ.ได้ไปทำประวัติชุมชน สำรวจระบบสุขภาพชุมชน ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทำให้ นศ.ได้เดินไปถึงทุกหนแห่งในหมู่บ้าน อย่างรู้ลึก รู้มากและเข้าใจพอสมควร
2 ลักษณะนิสัยที่อ่อนน้อมและอดทน ทำให้สามารถเข้ากับชาวบ้านได้ดี นอกจากนี้ นศ.จากใต้ยังพบความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้เกิดความสนใจใคร่เรียนรู้ ที่จะเข้าใขชาวบ้านเป็นอย่างมาก การสนใจ รับฟัง ซักถามนั้น ทำให้ นศ.ได้รับการยอมรับ และเอ็นดู จากชาวบ้าน เป็นอย่างมากนั่นเอง และอีกอย่าง หลายคนอาจไม่รู้ เพราะผมเติบโตมากับคนใต้(ชุมพร) และเป็นคนอีสาน ผมพบว่าคนใต้ และคนอืสาน มีสิ่งที่มีเหมือนกันก็คือ ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีย์ ความที่เหมือนกันแบบนี้ นี่เอง ที่จะทำให้คนเราเข้าอกเข้าใจกัน และรักกันในที่สุด


3 ความขยันในการทำงานมาลงพื้นที่เกือบทุกวัน ทำให้ นศ.ได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ติดตามต่อเนื่องมาดูแลคนป่วยแทบทุกวัน ประสานดูแล พูดคุยที่จริงจัง อ่อนน้อมแต่ขยัน ทำตัวเหมือนลูกเหมือนหลาน การทำงานแบบนี้ คือการทำงานอย่างจริงจัง ซึ่งโดนใจชาวบ้านมาก จึงทำให้ได้ใจชาวบ้านทุ่้งโป่งไปเต็มๆ
4 ทำงานแบบมืออาชีพด้านเภสัชกรรม ผมเองได้ออกแบบการฝึกงานชุมชน โดยให้นักศึกษาแสดงบทบาทของเภสัชกรอย่างเต็มที่ในการจัดการบริบาลทางเภสัชกรรม การดูแลผู้ป่วย นศ.เองได้คัดกรองเจอผู้ป่วยโรคเกาต์ และความดันโลหิตสูง มีการดูแลเยียวยาผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างใส่ใจ การประสานติดต่อกับแพทย์เมื่อพบปัญหาด้านยาด้วยตัวเอง ติดต่อ พยาบาล และ รพสต. มีการรับฟังคนไข้อย่างเปิดใจ และมีความรู้ทางเภสัชกรรมที่เข้มแข็งพอจะเป็นที่พึ่งให้ชาวบ้านได้ ซึ่งการทำงานแบบนี้ ยังไงๆ ชาวบ้านก็รักก็ชอบอยู่แล้ว