วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เภสัชกร จ่ายยาตามแพทย์สั่ง ง่ายจะตาย

                  มายาคติคนไทย  ความคิดที่ว่าการจ่ายยานั้นแสนง่าย

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม


        ผมเชื่อว่า ประชาชน หลายคน จะเข้าใจ ว่า เภสัชกร นี้ทำงาน ง่าย แค่จัดยาตามแพทย์สั่ง ก็เสร็จแล้ว งานหมูๆ ชัด หลายคนเชื่อ ว่า ชีวิตเภสัชกร ช่างง่า่ยดาย และสุขสบาย อะไรขนาดนั้น เมื่อ ก่อนสมัยผมอายุ 11 ขวบ ผมก็เข้าใจ แบบนั้นเหมือนกัน ดังนั้น ตอนผมอยู่ชั้น ป.5 ผมได้ตัดสินใจ ว่า โตขึ้นผมจะทำงานอยู่ห้องยา น่าจะสบายได้นั่งจ่ายยาในห้องแอร์เย็นๆ ไม่ต้องออกไปเจอเลือด เจอผู้ป่วย สบายๆ แน่ๆในตอนที่ผม เด็กๆ ผมก็คิดแบบนั้นครับ จึงได้ตัดสินใจมาเรียนเภสัชเมื่อโตขึ้นไงครับ ผม ขอยกตัวอย่าง เรื่องเล่า สัก 2 เรื่องให้ฟัง ว่างานเภสัชกร นั้นยากกว่า แค่สักแต่ว่าจ่ายยา ตรงไหน



            เรื่องแรกเกิดเมื่อ 14 ปีที่แล้ว  ผมพบว่าโรงพยาบาลมีคนไข้โรคหืดต้องมานอน admit ที่โรงพยาบาลเยอะมาก  จากการ ทบทวนใบสั่งยาดู ผมพบว่าคนไข้ได้แค่ยาพ่นขยายหลอดลม เท่านั้น  ยังไม่มีการใช้ ยาพ่นสเตียรอยด์ ที่ทำหน้าที่ลดการอักเสบในหลอดลมแม้แต่รายเดียว    ผมจึงได้ทำสิ่งที่แตกต่างออกไป คือ แทนที่จะแค่จ่ายยาไปตามแพทย์สั่ง  ผมก็เริ่มเชิงรุก วางระบบการสั่งยาที่เหมาะสมให้แพทย์ เพราะสมัยนั้น แพทย์หลายคนยังไม่เข้าใจว่าโรคหืดเกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง  กว่าแพทย์จะยอม ทำตามผม ก็ต้องนำเสนอ ข้อมูลงานวิจัยยานี้ ในประเทศไทย  ทาง internet มานำเสนอ ในกรรมการดูแลผู้ป่วย  ซึ่งสมัยนั้น ต้องเสียเงิน ค้นหาข้อมูลจาก medline และยังต้องไปชวน แพทย์ ที่ไฟแรงมารับผิดชอบ การจัดตั้งคลินิกโรคหืดด้วยการ มีการทำเกณฑ์วินิจฉัยโรค มีการประชุมผู้ป่วย และ จัดทำคลินิกพิเศษขึ้นมา  มันได้ผล คนไข้โรคหืด ที่ต้องนอนโรงพยาบาล จาก ปีละ 148 คน ลดลงเหลือ 32 คนต่อปี โดยมีจำนวนวันนอนรวมจากปีละ 407 วันนอน เหลือ เพียง 111 วันนอนเท่านั้น นีคือผลงานเภสัชกรรมคลินิก ที่ผมแสนจะภูมิใจ แม้จะไม่ได้ 2 ขั้นก็ตาม 555



      เรื่องที่สอง เกิดเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ เภสัชกร จะได้เวชระเบียนคนไข้แบบเต็มๆ  ไม่ใช่ได้แค่ใบสั่งยาเท่านั้น ทำให้เราได้ข้อมูล ที่มากมาย ในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น เภสัชกรที่อุบลรัตน์ จะไม่ดูแค่ใบสั่งยาในวันนี้เท่านั้น  พวกเราจะย้อนกลับไปดูประวัติการรักษา และค่า Lab ต่างๆ ของผู้ป่วยในเกือบทุกครั้ง ผมจึงพบปัญหาบ่อยๆ ว่ามีคนไข้โลหิตจางมากมาย หลายคนที่ไม่ได้รับการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มี ฮีโมลโกลบิน ระดับ 5-9% ซึ่งต่ำจนอันตราย คนไข้หลายคน มีอาการทรุดลงจนเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา ถึง 3 คน โดยคนไข้เหล่านี้ แพทย์ อาจจะลืมสั่งยา หรือ ลืมว่าต้องรักษาพวกเขาก็มีมาให้พบบ่อยๆ ทุก อาทิตย์ครับ ทำให้เกิด ข้อตกลงว่า เภสัชกรที่นี่ นอกจากจะดู BUN/Cr หรือการทำงานของไตแล้ว จะดูความเข้มขั้นของเลือด หรือ ฮีโมลโกลบินด้วย 




         ถึงตอนนี้ เราช่วยคัดกรอง คนไข้แบบนี้ให้แพทย์ได้ 52 คนแล้ว คนไข้พวกนี้ ก็ จะได้ยาเพื่อรักษาโลหิตจาง ตามที่ควรจะเป็น และคนไข้ ที่มี ภาวะหัวใจล้มเหลวจากโลหิตจางทั้ง 3 คนก็ดีขึ้น แล้ว  คนไข้อีก 14 คน โลหิตจางรุนแรงจากธาลัสซีเมีย 14 คนก็ถูกส่งต่อเพื่อรับการรักษา  มีคนไข้หลายคนมาแสดงความขอบคุณ และมอบของฝากให้เภสัชกร ในห้องยา พวกเราแสนจะภูมิใจมาก เพราะเภสัชกรที่นี่ ไม่ใช่แค่จ่ายยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น สวัสดีครับ ผมเภสัชเอกครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น