วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ของอำเภออุบลรัตน์


งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ



งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ประกอบด้วยงาน  5 ส่วน
โดย ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

1 พัฒนาระบบยา PCA ใน รพสต
2 งานเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม
3 งานส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบยาชุมชน
4 งานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน
5 งานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


ระบบยา ใน รพสต ตามเกณฑ์ PCA

  1. การจัดซื้อ จัดหา
  2. การเก็บรักษา
  3. การเบิกจ่าย
  4. การส่งมอบยา
  5. การติดตามการใช้ยา


งานเยี่ยมบ้านทางเภสัชกรรม

จะเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยที่เกิดปัญหาจากยา หรือ มีความเสี่ยงทางยาเกิดขึ้่น โดยเน้นไปที่โรคเรื้อรัง จัดการปัญหาที่สืบเนื่องมาจากยา    เป็นการบริบาลผู้ป่วย ผู้ดูแล และ สมาชิกในครอบครัว ให้มี ศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเองได้


งานส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบยาชุมชน

  • การใช้ยาสามัญประจำบ้าน
  • การใช้สมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง
  • การจัดการปัญหาด้านยาที่สำคัญในชุมชน


งานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

  • ให้ความรู้เรื่องสิทธิผู้บริโภค
  • ตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ
  • การรับข้อร้องเรียนต่างๆ
  • การสื่อสาร ข้อมูลย้อนกลับให้ประชาชน
  • การส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชน


งานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

  • การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
  • การคัดกรองและจัดการปัญหาด้านยาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ ADE
  • การเก็บรักษายาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โครงการอาหารปลอดภัยอำเภออุบลรัตน์

อาหารปลอดภัย สำคัญ มากกว่าที่คิด

ตัวผมเองถึงแม้จะเป็นเภสัชกร  ที่มีหน้าที่ในงานเภสัชกรรมคลินิก  และงานบริการทางเภสัชกรรมเป็นหลัก    แต่อย่างไรก็ตาม  ตัวชี้วัดระดับจังหวัดนั้น ยังเน้นย้ำถึง เรื่องอาหารปลอดภัยอยู่เสมอ ตัวผมเอง   เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล  และ เจ้าหน้าที่ รพสต. หรือแม้แต่ ข้าราชการในหน่วยงานอื่น  ยังคงจำเป็นต้องบริโภคอาหารในอำเภออุบลรัตน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



ดังนั้นผมเองก็คิดง่ายๆ ว่า ผมต้องกินอะไร อาหารนั้น ต้องปลอดภัย แสดงว่า ก๊วยเตี๋ยวต้องปลอดภัย เนื้อย่างเกาหลีต้องปลอดภัย น้ำดื่ม น้ำเข็งต้องปลอดภัย ตลาดสดปลอดภัย ร้านอาหารปลอดภัย และ อื่นๆ อีกมากมาย  โดยเราจะเริ่มกระบวนการดังนี้

1 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจ นโยบายและทิศทางอาหารปลอดภัย
2 สุ่มตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆ  และ สถานประกอบการด้านอาหาร
3 ให้ความรู้และความตื่นตัวต่อแนวคิดอาหารปลอดภัยแก่ภาคประชาชน
4 รับรองผลิตภัณฑ์  และ สถานประกอบการด้านอาหารว่าปลอดภัย
5 ส่งเสริมความเข้มแข็ง และ ศักยภาพของผู้บริโภค 

นโยบาบอาหารปลอดภัย เป็น KPI จุดเน้นของ สสจ.ขอนแก่น ด้วย ใน 6 จุดเน้นปีนี้

นี่คือนโยบาย จากกระทรวงสาธารณสุขครับ
เรียน  ผู้รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดทุกจังหวัด

จากการประชุมมอบหมายนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๗ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขทุกท่าน เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 และ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี สรุป ดังนี้
วิสัยทัศน์ : ภายในทศวรรษต่อไป คนไทยทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ :
1. กำหนดนโยบาย มาตรฐาน กฎหมาย และบริหารจัดการบนฐานข้อมูลที่มีคุณภาพและการจัดการความรู้ รวมถึงการติดตามกำกับประเมินผล (Regulator)
2. จัดระบบบริการตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงบริการศูนย์ความเป็นเลิศที่มีคุณภาพครอบคลุมและระบบส่งต่อที่ไร้รอยต่อ (Provider)
เป้าหมาย :
1. อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 80 ปี
2. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่น้อยกว่า 72 ปี

หลักการร่วมที่เน้นในปี 2557 คือ “Good Health Starts Here: สุขภาพดี เริ่มต้นจากที่นี่” ให้อยู่ภายใต้จิตสำนึกของประชาชนทุกคน (Health Conscious mind) ก่อนที่จะเลือกซื้อ เลือกรับประทาน จะต้องคำนึงถึงสิ่งนั้นว่าจะมีผลดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพหรือไม่
ที่มา http://www.fda.moph.go.th/food_safety/frontend/theme_1/index.php