วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จ่ายยาแบบเข้าตา ประชาชนทำอย่างไร

    


        
ผมเชื่อว่า    เภสัชกรหลายคนๆ คงจะรู้สึกเหมือนผม ว่าบางครั้ง

 ชาวบ้าน หรือ คนนอก มองอย่าง ดูถูกงานจ่ายยา ของเภสัชกร

ว่าเป็น งานง่ายๆ งานหมูๆ    ได้ยินแล้วก็ชวนหงุดหงิด

 หงุ่นหง่านใจ   เป็นยิ่งนัก แต่ว่า หากเราตรึกตรองดู สิ่งที่

พวกเขาว่า หรือ ดูพวกเรานั้น มันมีเหตุผลอยู่เหมือนกัน  เพราะ

งานจ่ายยา ตามโรงพยาบาลต่างๆ นั้น  เภสัชกร มีเวลาให้คนไข้่

น้อยมาก หลายๆครั้ง  เรามีเวลาในการส่งมอบยา แค่ 1 นาที


สอบถามชื่อ นามสกุล อธิบายการใช้ยาให้คนไข้ 1 นาที หมดเวลา


ทำให้คนไข้ อาจเข้าใจ ไปว่า แค่อ่านวิธีใช้ยาตามหน้าซอง

และ จ่ายยาตามแพทย์สั่งนั้น งานง่ายมาก ใครๆ ก็ทำได้

นั่นเองเป็นสิ่งที่เราต้องขบคิดให้แตกว่า ทำอย่างไร

บทบาทในการจ่ายยา ของเภสัชกร จะโดดเด่น และดูดี




ขึ้นมาได้เอาให้โดนใจคนไข้เลย ทำอย่างไร มันจะ change

เพราะตอนนี้ ผมได้ คิดว่าพวกเราถึงเวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว

เราต้องเปิดเกมส์รุกใหม่ๆ แล้ว หาก เภสัชกรมัวทำตัวแบบเดิมๆ

ผลลัพธ์ ก็คงเดิม คือว่าเราคงดูแย่ในสายตาคนทั่วไป เหมียลเดิม



เชื่อไหมตอนที่ผมอายุ 10 ปี ผมก็คิดว่า่ งานเภสัชกร มันโคตรสบาย

เหมือนกัน ทำให้ตอนเด็กๆ  นั้น ผมอยากเป็นเภสัชกรมาก 

สิ่งแรก ที่ผมทำก็คือ เราต้องได้ข้อมูลที่ดีกว่าเดิม นั่นคือ

เภสัชกร ต้องได้เวชระเบียนคนไข้ ดังคำที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า




รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะ ร้อย ครั้ง







ในการจ่ายยา เภสัชกร ถ้ารู้แค่ ชื่อ นามสกุล ชื่อยา จำนวนยา

เภสัชกรที่รู้แค่นี้  ตามใบสั่งยา และมีเวลาแค่ 1 นาที เราจะไปทำอะไรได้

สิ่งที่เราได้เหมือน พ่อครัวรับ order จากลูกค้าแค่นั้นเอง กากมาก

เราจะไม่สามารถ แสดงทักษะความรู้ทางเภสัชกรรมคลินิก ได้แน่นอน


ดังนั้น หากจะเปิดบทบาทเภสัชกร จ่ายยา เราต้องได้เวชระเบียนผู้ป่วย


ก่อนจ่ายยา มันจะดีกว่าแน่นอน ที่สุด และแน่นอน เคสที่เราต้อง

ดูเวชระเบียน และโชว์เหนือ อาจต้องใช้เวลา มากกว่า 1 นาที

บางรายต้องใช้เวลา 3 นาที บ้างก็ 5 นาที  บ้างก็ 10 นาที มันจำเป็น

แต่คงไม่ใช่ทุกเคส ที่เราจะจ่ายยาแบบพิเศษ ที่ใช้เวลา่แบบปกติ

ผมกะว่าคนไข้ร้อยละ 30 จะ จ่ายยาแบบพิเศษ อาจจะต้องใช้

เวลากับคนไข้ เคสละประมาณ 5 นาที  ส่วนคนไข้ทั่วไป

ร้อยละ 70 อาจใช้เวลาเหมือนเดิม คือ แค่รายละ 1 นาทีก็พอ


จากการที่ผมได้ใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน ในการดูแลผู้ป่วยเกือบทุกเคส มานาน

กว่า 7 ปี ของการดูข้อมูลคนไข้แบบจัดเต็ม เกิดคุณูปการ มากมาย



ในการทำงานเภสัชกรรมคลินิก ของผม  อาทิ เช่น  การสร้างระบบ

1 การเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยไตวาย
2 การติดตามคนไข้โรคเรื้อรัง อื่นๆ ที่
  มีความสำคัญเช่น RA SLE HF MI VHD  และ NS
3 การสร้างคลินิกโรคหืดและ COPD
4 การจัดการปัญหายาในผู้ป่วย G6PD
5 การดูแลผู้ป่วย โรคตับแข็ง

 
ยกตัวอย่างใน ข้อที่ 1 เมื่อก่อนเภสัชกร อาจไม่รู้ว่าคนไข้คนใด มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ทำให้คนไข้ไตวายหลายคนได้ยา่ที่อาจเป็นอันตรายต่อไต

เช่น การได้รับยา  Metformin หรือยากลุ่ม NSAIDs

นอกจากนี้ เภสัชกรอย่างเรายังพบว่า คนไข้ไตวายหลายคน

ไม่ได้รับการรักษาหรือ ยาใดๆ เลย (มันหลุดไปได้อย่างไร)

จากการติดตามคนไข้อย่างใกล้ชิด ผมพบว่าโรคเกาต์ เป็นโรคหนึ่ง

ที่ทำให้เกิดไตวายในผู้ป่วยเกือบร้อยคนในอำเภออุบลรัตน์ 

ซึ่งเรื่องนี้ แม้แต่แพทย์เอง ก็ยังไม่เคยรู้มาก่อน

จากการที่เภสัชกร ทำงานหนัก ขยัน รู้ลึกรู้จริง เรื่องการดูแลผู้ป่วยนั้น

การทำงานของเภสัชกร ในการจ่ายยา จะดูฉลาด หรือ Smart นั่นเอง 






นอกจากนั้น      ในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย  เภสัชกร ก็ยังเป็นคนแรกๆ

ที่ได้ประสานงานและส่งต่อผู้ป่วยไตวายไปฟอกไตแบบ  CAPD ที่ รพ.ขอนแก่น

กิจกรรมมากมายนี้ จะเกืดไม่ได้เลยถ้าเภสัชกร ไม่ได้เวชระเบียนผู้ป่วย

ดังนั้น การที่เราจะพลิกเกมส์  สร้างโดดเด่นในงานจ่ายยา เราต้องมีข้อมูลดี

หรือ ข้อมูลจาก เวชระเบียนนั่นเอง  และ เราอาจสอบถาม ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

จากผู้ป่วยโดยตรง ได้ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจของเราที่มีต่อคนไข้ ได้ใจเต็มๆ

และ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการทำงานเภสัชกรรมคลินิกอีกด้วย

เรียกว่า การสอบถามข้อมูลคนไข้เพิ่ม ได้ประโยชน์ 2 เด้ง




หรือ ดังคำที่ว่า  ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว  นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น