วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565

Gout เกาต์ เมื่อ คุณต้องเรียนรู้ใหม่ และ Unlearn

Gout เกาต์ เมื่อ คุณต้องเรียนรู้ใหม่ และ Unlearn




 สมัยก่อน คำแนะนำ ที่เราพบทั่วไป คือ เป็นเกาต์  ห้ามกินสัตว์ปีก และ ยอดผัก

แต่ปัจจุบัน ความรู้เปลี่ยนไป  เกาต์ กินสัตว์ปีก และ กินผักได้  แทบทุกชนิด แต่

สิ่งที่ต้องห้ามคือ น้ำตาลฟรุคโตส  ที่อยู่ใน พวกน้ำตาลทราย หรือ ผลไม้หวานต่างๆ

และที่่รู้ๆ กันอยู่ ต้องงด  การดื่มสุรา หรือ เหล้า เบียร์ด้วย   จริงๆ หลักๆ คือ

งดน้ำตาลฟรุคโตส  และ แอลกอฮอล์ ต่างๆ หากที่สำคัญ  สิ่งที่หลายคนไม่รู้ก็คือ

เกาต์ เกิดจาก กรดยูริคที่ร่างกายเราสร้างเอง ถึง 67% ส่วนกรดยูริคที่เรากินมีgrup' 33%

โรคเกาต์ เป็นแล้ว ต้อง รักษา หากสนใจไม่รักษา ถึงตายได้เลย

ย้ำ โปรดอ่านอีกครั้ง เกาต์เป็นแล้ว ต้องรักษา ไม่รักษาถึงตาย

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565

ทำไมผมไม่ใช้ยา Favipiravir รักษาโควิด19

 ยา favipiravir กับ โรคโควิดแบบไทยๆ


ยา favipiravir ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะช่วยเรื่องการติดโรคโควิด 19 แต่อย่างใด

แม้แต่ ประเทศญี่ปุ่น ผูพัฒนายา favipiravir ก็ไม่อนุมัติให้ยา favipiravir

มาใช้รักษาโรค โควิด19   แม้แต่ อย อเมริกา หรือ อย ยุโรป ก็ไม่อนุมัติให้ยานี้

ย้ำ ยา favipiravir ไม่ได้รับการอนุมัติ จาก อมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่นว่า มัน

สามารถใช้รักษาโรคโควิดได้  มีแต่ ประเทศไทย แค่นั้นแหละที่ยอมให้ favipiravir

มาใช้ในการรักษาโรคโควิด19 และนี่คือเหตุผล ว่ายา favipiravir มันไม่ควร



3 เหตุผลที่ ไม่ควรใช้ favipiravir รักษาโควิด19

  1. มีงานวิจัย ยืนยันว่า ยา favipiravir  ไม่สามารถลดอัตราการตายของ ผู้ป่วยโควิด 19   หรือ ลด ความต้องการออกซิเจน ของผู้ป่วยโควิดได้ อ่านงานวิจัย คลิก นี่ คือ วารสาร วิจัยที่มีชื่อมากที่สุดในโลก Nature  https://www.nature.com/articles/s41598-021-90551-6
  2. ยา favipiravir  ไม่ได้รับการรับรอง จากองค์การอาหารและยา ใน อเมริกา ยุโรป อังกฤษ หรือ ญี่ปุ่น ในการรักษาโควิด 19  แต่รับรองยา Paxlovid ในการรักษา https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/coronavirus-covid-19-update-fda-authorizes-first-oral-antiviral-treatment-covid-19
  3. ยาอีกตัว ที่ ใช้รักษาโควิด 19 คือ ยากลุ่ม   Monoclonal Antibody  

https://www.fda.gov/news-events/press-announcements/coronavirus-covid-19-update-fda-authorizes-new-monoclonal-antibody-treatment-covid-19-retains

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ห้องยาเล็กๆ ของเรา

 ห้องยาเล็กอยู่กันสองคน

                           ที่โรงพยาบาลขอนแก่น 2 เป็นโรงพยาบาลเปิดใหม่  เปิดตั้งแต่ 14 กพ 59 มาถึงตอนนี้ก็ 6 ปี แล้ว  ตั้งแต่เดือน กุมภา 65 ที่ผ่านมา  ผม เอก  ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม ได้ทำหน้าที่ ดูแลห้องยานี้เต็มตัว  เริ่มโดยมี ผู้ร่วมงาน คือ น้องข้าวฟ่าง เด็กสาวจบใหม่  จาก มหาวิทยาลับแม่ฟ้าหลวง    ตอนนี้ที่ งานเวชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น  ได้มี เภสัชกร ลาออก 1 คน  และน้องยอด ก็ย้ายไปประจำที่ศูนย์แพทย์ชุมชนหนองกุง  ทำให้ที่นี่ มีคนทำงานเหลือแค่ 2 คน  แถม 1 คนยังเป็นน้องจบใหม่  ยังไม่คุ้นเคยกับระบบห้องยาที่นี่ กำลังคนที่ลดลง และ บุคลากรใหม่  แถมยังมีงานจ่ายยาให้ ผู้ป่วยโควิดที่เป็น Home Isolation อีก เรียกว่า  คนลด งานเพิ่ม มีน้องใหม่ เรียกว่า วิกฤตเล็กๆเลย 



      แต่สิ่งที่ผมต้องการ คือ ต้องทำให้ ห้องยา ขอนแก่น 2 มีผลงานที่ดีที่สุด  ถึงแม้ว่าคน เราจะน้อยไปหน่อยก็ตามที มันต้องมีทางดังนั้น  เราต้องวางระบบคุณภาพของงานระบบยาให้ดี  โดยร่วมจาก กระบวนการของงานหลัก  และ การจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ ให้ได้ก่อน  มาเริ่มจาก กระบวนการหลักก่อน ใน ห้องยานี้ กระบวนการหลักของงานได้แก่

  1. การจ่ายยาให้ผู้ป่วย
  2. การเบิกจ่ายยา
  3. การเก็บรักษายา

ส่วน ความเสี่ยงที่สำคัญคือ

  1. ผู้ป่วยแพ้ยา หรือ เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา จนเสียชีวิต
  2. ผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด จนเสียชีวิต
  3. ไม่มียาช่วยชีวิตใช้ในภาวะฉุกเฉิน
  4. จ่ายยาผิดคนจนทำให้ ผู้ป่วยเสียชนิด
  5. จ่ายยาผิดชนิด จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต