วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

To be a better pharmacist

ผมจะมีเรื่องเล่า ให้ฟัง  2 เรื่อง เกี่ยวกับ การพยายาม สร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้เภสัชกร



เคสแรกจาก ER หญิงชรา อายุ 82 ปี หอบเหนื่อย แพทย์ตามเภสัชกร มาสอน ใช้ยาพ่น MDI
ผมเองเดินไป ER เห็นผู้ป่วยนอนราบไม่ได้  ขาบวมทั้ง 2 ข้าง ผมซักอาการ หอบ
คนไข้ตอบว่า มีไอบ้าง เหนื่อยมาก หลังกินมะม่วงดอง 4 ผล ผมค้นดูประวัติที่น่าจะ
เข้าได้กับ asthma หรือ COPD แต่ไม่พบ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ ลมพิษ หรือ สัมผัส
ควันบุหรี่ ไม่มีเลย ตรวจดู Chest X ray พบหัวใจโต ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง และ
โรค RHD ผมค่อนข้างแน่ใจว่าไม่ใช่ asthma คนไข้น่าจะเป็น CHF มากกว่า ผมคุยกับ
แพทย์เรื่อง add enalapril และ ให้ lasix inj เมื่อคนไข้หายขาบวม วันถัดมาก็กลับบ้านได้

เคสสอง มา admit ที่ห้องยาตอนสายๆ ผู้ป่วยชายสูงอายุ  78 ปี ปัสสาวะแสบขัด ความดันโลหิตต่ำจนน่าเกลียด 90/60 mm Hg(ความดันเดิมๆ วัดได้ PR 113 bpm  อุณหมูมิ 37 องศา ความรู้ที่ได้เข้าอบรมเพิ่มเติมมา อาจเป็น ไปได้ว่า septic shocks  ผม เขียนใน progress note ว่า หากมีไข้ จะเข้าข่าย septic shocks
ต่อมา บ่ายสอง ผมเดินไปเยี่ยมคนไข้ที่ ward พบว่า อุณหมูมิ 38.5 องศา ความดัน 88/55 mm Hg ไม่พบผลตรวจ UA ไปห้อง lab พบ WBC ขึ้นสูง เภสัชกรอย่างผมแจ้งแพทย์ด่วน Red Code แล้ว แพทย์ให้สารน้ำแบบ load ปริมาณมากเปิดสองเส้น พร้อมให้ fortum injection แล้ว Refer คนป่วยรายนี้ รอดตายได้

และนี่คือตัวอย่างความรู้ที่เภสัชกร ต้องมี นั่นก็คือ
1 การประเมินโรค 2 การประเมินภาวะวิกฤตที่พบบ่อย 3 ยาที่ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วย 4 การซักประวัติตรวจร่างกาย
และทำให้ผมต้องไปอบรม กับ COP SOFT เรื่อง การประเมินผู้ป่วยสำหรับเภสัชกรครอบครัว
แล้วเจอกันที่ โรงแรมนารายณ์ สีลม ครับ 8-12 มิถุนายน 2558 เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า เภสัชกรเก่งๆ ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ครับ